ผลกระทบของการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน ของธุรกิจโรงแรม กลุ่มจังหวัดสนุก
คำสำคัญ:
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี , ประสิทธิภาพการดำเนินงาน, ธุรกิจโรงแรม , กลุ่มจังหวัดสนุกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี 2) ประสิทธิภาพการดำเนินงาน 3) ความสัมพันธ์และผลกระทบของการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรม กลุ่มจังหวัดสนุก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารธุรกิจโรงแรม จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ค่าอำนาจจำแนกรายข้อเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี เท่ากับ 0.724 – 0.981 และค่าอำนาจจำแนกรายข้อเกี่ยวกับประสิทธิภาพการดำเนินงาน เท่ากับ 0.595 – 0.966 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี โดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ มี รองลงมา ด้านความสมบูรณ์ครบถ้วน และ ด้านความทันเวลา 2) ประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยรวม อยู่ในระดับมาก และเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านความพึงพอใจของลูกค้า รองลงมาด้านประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยี และด้านการลดต้นทุนขององค์กร 3) การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี ด้านความสมบูรณ์ครบถ้วน ด้านความทันเวลา และด้านความสามารถเปรียบเทียบกันได้ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.927 – 0.985 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
เอกสารอ้างอิง
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). ธุรกิจโรงแรม. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564, จาก : http:www.dbd.go.th.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). ข้อมูลสถิติของธุรกิจโรงแรมและข้อมูลการท่องเที่ยว. [ออนไลน์]. ค้นวันที่25 พฤษภาคม 2564, จาก : http://www.thai.tourismthailand.org.
กลุ่มงานบริหารยุทธศาตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2. (2564). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (จังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร) พ.ศ. 2561-2565. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564, จาก : http://www.nakhonphanom.Industry.go.th.
ฐานเศรษฐกิจ. (2564). การเงินและการลงทุน. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2564, จาก : http://www.Thansettakij.com
ณัฐวุฒิ ตันติเศรษฐ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของงบการเงินและประสิทธิผลในการตัดสินใจของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 6(2), 20-35.
ณัฏฐธิดา จินวิเศษ. (2563). คุณลักษณะสารสนเทศทางการบัญชีที่ดีที่มีผลต่อการวางแผนการดำเนินงานของธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ปุณยทรรศน์ คงแก้ว โสพิศพิไล ทองใส, อรทัย ชำนาญกิจ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีกับประสิทธิภาพการตัดสินใจ ของผู้บริหารธุรกิจห้างหุ้นส่วน ในตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 10(1), 160-169.
พลพธู ปิยวรรณ และ สุภาพร เชิงเอี่ยม. (2556). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ :วิทยพัฒน์.
ศิริ โอภาสพงษ์. (2554). MAXIMUM SUCCESS สูตรสำเร็จขั้นสุดยอด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2564, จาก : www.nesdb.go.th/
อภิญญา คงวิริยะกุล. (2560). ผลกระทบของประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อการปฏิบัติงานที่ดีทางการบัญชีของธุรกิจเคมีภัณฑ์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Aaker, David A., V. Kumar and George S. Day. (2001). Marketing Research. New York : John Wiley & Sons.
Black, K. (2006). Business statistics for contemporary decision making. (4th Ed). USA : John Wiley & Son.
Certo, Samuel C. (2000). Modern Management. New Jersey: Prentice-Hall.
Krejcie , Robert. V. and Morgan, Earyle. W. (1970). Educational and psychological measurement .New York : McGraw-Hill .
Nunnally, J.C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York: Mc Graw-Hill.
Nunnally, J.C., and Bernstein, I.H. (1994). Psychometric Theory. (3rd Ed). New York : Mc Graw-Hill.
Siamak Nejadhosseini Soudani. (2012). The Usefulness of an Accounting Information System for Effective Organization Performance. International Journal of Economics and Finance. 4(5) : 136-145. DOI:10.5539/ijef.v4n5p136.