การศึกษาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมในการสั่งซื้อวัตถุดิบประเภทสี กรณีศึกษา บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

ผู้แต่ง

  • จุฑารพ ประสูตรนาวิน นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ฐิติมา วงศ์อินตา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การจัดการสินค้าคงคลัง, การแบ่งกลุ่มแบบ ABC, การพยากรณ์, ปริมาณการสั่งซื้อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เทคนิคการพยากรณ์และวิเคราะห์ปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลังประเภทสี โดยเริ่มจากการแบ่งกลุ่มวัตถุดิบด้วยวิธี ABC Analysis ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่ม A ที่มีมูลค่าการสั่งซื้อต่อปีสูงที่สุด มีจำนวน 7 ชนิด รวมเป็นมูลค่า 8,504,130 บาท คิดเป็นร้อยละ 78.06 ของวัตถุดิบประเภทสีทั้งหมด จากนั้นนำข้อมูลมาพยากรณ์ความต้องการสินค้าล่วงหน้า โดยใช้โปรแกรมการพยากรณ์สำเร็จรูป ซึ่งจะทำการพยากรณ์ทั้งหมด 4 วิธี คือ วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย, วิธีเอกซ์โพแนนเชียลปรับเรียบครั้งเดียว, วิธีเอกซ์โพแนนเชียลปรับเรียบสองครั้ง, วิธีการปรับเรียบแบบเอกซ์โพแนนเชียลของวินเทอร์ และนำค่าการพยากรณ์ที่ได้จากวิธีการพยากรณ์ที่มีค่าความคลาดเคลื่อน (MAPE, MAD, MSD) ต่ำที่สุด ไปวิเคราะห์ความแปรปรวนก่อนที่จะนำไปใช้เพื่อคำนวนปริมาณการสั่งซื้ออย่างเหมาะสม โดยค่าความแปรปรวน (VC) จะต้องไม่เกิน 0.25 ซึ่งเหลือวัตถุดิบประเภทสี 4 ชนิดที่สามารถนำไปวิเคราะห์ปริมาณการสั่งซื้ออย่างเหมาะสมได้ คือ NH-303M, NH-B99M, R-366, NH-B61P จากผลการศึกษา สามารถปรับปรุงรูปแบบการสั่งซื้อวัตถุดิบประเภทสีทั้ง 4 ชนิด ได้ดังนี้ NH-303M ต้นทุนรวมต่อปีลดลงร้อยละ 9.22, NH-B99M ต้นทุนรวมต่อปีลดลงร้อยละ 1.65, R-366 ต้นทุนรวมต่อปีลดลงร้อยละ 16.59, NH-B61P ต้นทุนรวมต่อปีลดลงร้อยละ 43.38 ซึ่งหลังปรับปรุงรูปแบบการสั่งซื้อของวัตถุดิบประเภทสีทั้ง 4 ชนิดพบว่าสามารถลดต้นทุนรวมได้ 15,819 บาทต่อปีหรือประมาณร้อยละ 13 ต่อปี

References

กรรณิกา เทพมหานิล. (2562). การวิเคราะห์ปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์. การค้นคว้าอิสระวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธัญยธรณ์ อ้นมี. (2560). การพยากรณ์และการวางแผนสร้างสต็อกสินค้า เพื่อลดปัญหาการส่งมอบสินค้าล่าช้ากรณีศึกษาโรงงานผลิตเลนส์แว่นตา. การค้นคว้าอิสระวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริวรรณ สัมพันธมิตร วรรณดา สมบูรณ์ กนกวรรณ สังสรรค์ศิริ และเสาวนิตย์ เลขวัต. (2564). การพยากรณ์ความต้องการใช้กาวดักแมลงวัน. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 7(1), 55-67.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2565). สินค้าส่งออกสำคัญของไทยรายประเทศ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565, จาก : https://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=MenucomTopNCountry&Option=1&Lang=Th&ImExType=1

อภิชัย พรมอ่อน. (2561). การศึกษาการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลา (TIME SERIES) เพื่อการวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบ กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนท่อยางรถยนต์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

อรรถสิทธิ์ แจ่มฟ้า. (2562). อุตสาหกรรมยานยนต์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรงเทพฯ : ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. 6 หน้า

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29