การเพิ่มศักยภาพพัฒนานวัตกรรมและฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เกิดกิจกรรมทางการตลาดของชุมชนโดยการสร้างงาน สร้างรายได้ให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นชุมชน ตําบลศรีวิลัย อําเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การเพิ่มศักยภาพพัฒนานวัตกรรม, ฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่น, กิจกรรมทางการตลาดบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการใช้นวัตกรรมในด้านการบริหารจัดการ การผลิต การตลาด และความสามารถในการกำหนดแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมแก่ผู้ประกอบการสินค้า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการสำรวจความคิดเห็น จำนวน 100 คน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม โดยประยุกต์ใช้ร่วมกับ The Business Model Canvas ซึ่งเป็นการผสมผสานวิธีการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และประชาชนทั่วไป มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการเพิ่มศักยภาพพัฒนานวัตกรรมและฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เกิดกิจกรรมทางการตลาดของชุมชนโดยการสร้างงาน สร้างรายได้ให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นชุมชน โดยรวม ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านการจัดการองค์ความรู้ ด้านปรับปรุงและพัฒนา และด้านแก้ไขปัญหาการดำเนินธุรกิจของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ในชุมชน โดยอาศัยเทคโนโลยีที่เป็นภูมิปัญญาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการคิดต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้เกิดการแปรรูปอย่างยั่งยืน 3) ส่งเสริมและพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ โดยมีการจัดทำแผนการดำเนินธุรกิจการผลิตโดยการใช้กรอบแนวคิดกระบวนการ Design Thinking และการวิเคราะห์รูปแบบของแผนธุรกิจและความยั่งยืนในเชิงธุรกิจ Business Model Canvas (BMC) และ 3) ยกระดับเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ชุมชน โดยการส่งเสริมพัฒนากระบวนการผลิตให้ตรงตามมาตรฐาน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และพัฒนารูปแบบการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). (ร่าง) ยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนการพัฒนา ประเทศไทยด้วยเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2569. กรุงเทพฯ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
จีรเกียรติ อภิบุณโยภาส และสุขุมาล กล่ำแสงใส. (2563). รูปแบบการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมสีธรรมชาติหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 16(2) : กรกฎาคม-ธันวาคม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมขนจังหวัดสิงห์บุรี. (2560). แผนผังโมเดลธุรกิจของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรวิหารขาวสามัคคี ตำบลวิหารขาว อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี. สิงห์บุรี : รุ่งศิริการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.). (2561) สมุดปกขาว BCG in Action การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทย เพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2564). คู่มือการส่งเสริมการพัฒนา “ระบบเศรษฐกิจฐาน ราก”. กรุงเทพฯ: สำนักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน และสำนักสื่อสารการพัฒนา สถาบันพัฒนา องค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม. (2563). การวางแผนพัฒนาประเทศ. นนทบุรี: บริษัท ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง จำกัด.
Osterwalder, A., Pigneur, Y., Oliveira, M. A.-Y., & Ferreira, J. J. P. (2011). Business Model Generation: A handbook for visionaries, game changers and challengers. African journal of business management, 5(7), 22-30.