การจัดการทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่นของข้าวพื้นเมืองในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ชลิตา คำหอม อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ, การจัดการทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น, ข้าวพื้นเมืองสุรินทร์

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  1) สภาพปัญหา 2) ความต้องการการรับบริการและการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ และ 3) แนวทางการจัดการทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่นข้าวพื้นเมืองในจังหวัดสุรินทร์  โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ  หน่วยการวิจัย คือ ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุรินทร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ งานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยมี 3 กลุ่ม คือ ผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการ และ ผู้บริหาร เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา 

            ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาการจัดการทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่นข้าวพื้นเมืองในจังหวัดสุรินทร์ ของแหล่งสารสนเทศประเภทสถานศึกษา และแหล่งสารสนเทศเฉพาะด้านข้าว มีความแตกต่างกันในด้านการกำหนดนโยบายการคัดเลือก การจัดหา การจัดระบบและการเข้าถึง ตลอดจนการบริการสารสนเทศท้องถิ่นข้าวพื้นเมือง 2) ความต้องการของผู้ใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่ซับซ้อนและง่ายต่อการสืบค้น และ มีการจัดการ ของหน่วยงานในเชิงนโยบายที่ชัดเจน  เช่น  มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรและแบบมีส่วนร่วม 3) แนวทาง การจัดการทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่นข้าวพื้นเมืองใน จังหวัดสุรินทร์ควรดำเนินการในรูปแบบเครือข่ายสารสนเทศท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงาน ท้องถิ่น  ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ  ด้านการคัดเลือก การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศควรมีการจัดหารูปแบบ ที่หลากหลายจากหน่วยงานเครือข่ายทางสารสนเทศท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดนักวิจัย  เกษตรกร  และปราชญ์ชาวบ้าน ควรมีห้องเฉพาะทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น และ จัดคอลเลคชั่นทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบสื่อของจริง  สื่อเสมือน  และ  สื่อดิจิทัล  ระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศไม่ซับซ้อนและมีช่องทางการเข้าถึงที่หลากหลายและเอื้อต่อการสืบค้นผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งภายในและภายนอกแหล่งสารสนเทศ  นอกจากนี้ควรมีบุคลากรทางวิชาชีพบรรณารักษ์โดยเฉพาะที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศและบริการ  และควรส่งเสริมทักษะและพัฒนาศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์  การออกแบบการจัดนิทรรศการ ตลอดจนพัฒนาทักษะการจัดทำสื่อเสมือน และ สื่อดิจิทัล  

References

ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน. (2557). การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น. นนทบุรี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน และน้ำทิพย์ วิภาวิน. (2554). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น.ใน การจัดการทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น หน่วยที่ 1-8 , 1-21 .นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

โชคธำรงค์ จงจอหอ. (2562). พฤติกรรมสารสนเทศของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านด้านข้าว. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 12 (1), 1-12.

ธัญญา วิริยา ศันสนีย์ จำจด และต่อนภา ผุสดี. (2562). ผลของฤดูกาลต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดดาวอินคา. วารสารเกษตร, 35(2) : 193-204.

น้ำลิน เทียมแก้ว. (2561). แนวทางการพัฒนาบริการสารสนเทศ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 11(1) : 130-140.

ปิติมา แก้วเขียว ทัศนา หาญพล และพวา พันธุ์เมฆา. (2558). การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย, 8(1) : 54-71.

พัชรี สำโรงเย็น. (2557). สุดยอด นวัตกรรรมข้าวพันธุ์ใหม่ ลดต้นทุน- เพิ่มผลผลิต-ต้านทานโรค รับตลาด AEC. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : นาคาอินเตอร์มีเดีย. 120 หน้า.

เพ็ญพันธ์ เพชรศร. (2543). เขียนอย่างไรให้เป็นนโยบายการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ. วารสารบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มข. 18(3) : 60-65.

ศิริงาม แผลงชีพ. (2561). การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 196 หน้า

สารภี วรรณตรง. (2560). การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น. สุรินทร์ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2541). การศึกษากับภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29