การศึกษาสมรรถนะส่วนบุคคลในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ : กรณีศึกษา บุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา บัวหอม นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารศาสตร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ธรรมวิมล สุขเสริม อาจารย์ประจําหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ดุสิต จักรศิลป์ อาจารย์ประจำคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ, สมรรถนะส่วนบุคคล , การสร้างทักษะใหม่ , การเสริมทักษะเดิม

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ของบุคลากร สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 2) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลที่มีต่อสมรรถนะส่วนบุคคลของบุคลากร สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และ 3) เพื่อศึกษาการส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อสมรรถนะส่วนบุคคลในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที ทดสอบเอฟ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ ผลการศึกษา พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด และตำแหน่งที่แตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยต่อสมรรถนะส่วนบุคคลในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนอายุการทำงาน และหน่วยงานที่สังกัดที่แตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยต่อสมรรถนะส่วนบุคคลในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรฯ ไม่แตกต่างกัน ส่วนการส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า การได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา การรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน ทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน และสิ่งอำนวยความสะดวกส่งผลต่อสมรรถนะส่วนบุคคลในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่การรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานไม่ส่งผลต่อสมรรถนะส่วนบุคคลในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรฯ

References

เอกสารอ้างอิง

กัญภร เอี่ยมพญา, นิวัตต์ น้อยมณี, อภิชาติ อนุกูลเวช และดาวประกาย ระโส. (2564). การจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 8(1), 352-360.

กิตติศักดิ์ ซ้ายสุพรรณ. (2565). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จุฑามาศ เจริญสุข และกฤษฎา มูฮัมหมัด. (2564). สมรรถนะในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร : กรณีศึกษา กองบัญชาการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย”, ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติครั้งที่ 16, 19 สิงหาคม 2564. 1699-1710. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.

นํ้าทิพย์ วิภาวิน, ทรงลักษณ์ สกุลวิจิตร์สินธุ, ปุณณฑรีย์ สันติสุภาพร, จิรสิริ เกษมสิทธุ์ วิเวกเมธากร และลักษมีนวมถนอม คีมูระ. (2564). ความต้องการในการเสริมทักษะใหม่ของบุคลากรเครือข่ายห้องสมุดกรุงเทพมหานครในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). วารสารการอ่านสมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย, 25(2), 47-65.

นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์, อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล และแจ่มจันทร์ ศรีอรุณรัศมี. (2561). การกำหนดกรอบสมรรถนะและนำเสนอแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาสมรระด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(2), 745-762.

บังอร เบ็ญจาธิกุล. (2564). ไฮบริด (Hybrid) การทำงานแบบผสมผสาน: มาตรฐานใหม่สำหรับการทำงานในอนาคต. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(3), 47-61.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น 2545. 103 หน้า.

ปิยะภรณ์ สุจริตตานันท์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานประกันคุณภาพการฝึกอบรมทางทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. (2564). แผนการบริหารและพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565-2569) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2564, จาก : https://www.rmuti.ac.th/main/wp-content/files/ita/65/O25-3.pdf.

พิทักษ์ แก้วสืบ. (2560). สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิชญาย์ภร ปรวิเขียวสุดตา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วุฒิชัย อารักษ์โพชฌงค์, โญธิกา ผลาเลิศ, พรทิพย์ คำฟัก, พัชรพร นิลน้อยศรี, พีรวิชญ์ สุนทรนันท์. (2561). การประเมินสมรรถนะหลักของบุคลากรภาครัฐที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร.วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 5(1), 208-239.

วิษณุ กิตติพงศ์วรการ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง. (2558). ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(3), 1051-1062.

ศศิจันทร์ ปัญจทวี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศ กรณีศึกษา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สุพรรณี รัตนโรจน์มงคล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานธนาคารของรัฐขนาดใหญ่ ABC. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัจฉรา บัวหอม. (2565). การศึกษาสมรรถนะส่วนบุคคลในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ: กรณีศึกษา บุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารศาสตร์. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

Subhasish, D., Mary G., Nina M. (2002). User acceptance of E-Collaboration technology: an extension of the technology acceptance model. Group Decision and Negotiation, 11, 87-100.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-01