การประเมินการรับรู้ ความสนใจซื้อและการสื่อสารแบรนด์บนสื่อดิจิทัลของลูกปัดมโนราห์บ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • เสริมศักดิ์ ขุนพล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การสื่อสารแบรนด์ , สื่อดิจิทัล , สินค้าหัตถกรรม

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้แบรนด์และอิทธิพลแบรนด์บนสื่อดิจิทัลที่มีผลต่อความสนสนใจซื้อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมลูกปัดมโนราห์บ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย ผลวิจัยพบว่าการรับรู้แบรนด์หัตถกรรมลูกปัดมโนราห์บ้านขาวจากสื่อดิจิทัลอยู่ในระดับมาก (x̄ =3.58) โดยการรับรู้ว่าหัตถกรรมลูกปัดมโนราห์บ้านขาวเป็นสินค้าท้องถิ่นที่สร้างสรรค์โดยคนรุ่นใหม่และดีไซน์ใหม่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̄ =4.51) รองลงมาคืออยากเป็นสมาชิกหนึ่งที่เลือกใช้หัตถกรรมลูกปัดมโนราห์บ้านขาว(x̄ =3.83) การรับรู้ว่าหัตถกรรมลูกปัดมโนราห์บ้านขาวเป็นสินค้าที่มีราคาแพง หรูหรา มีระดับค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (x̄ =2.52) อิทธิพลการสื่อสารแบรนด์บนสื่อดิจิทัลกับความสนใจซื้อลูกปัดมโนราห์บ้านขาว มีความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อย ในทิศทางเดียวกัน (r =0.014) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อิทธิพลของการสื่อสารแบรนด์บนสื่อดิจิทัลมีผลต่อความสนใจซื้อผลิตภัณฑ์กลุ่มหัตถกรรมลูกปัดมโนราห์บ้านขาว ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็นบวกและเป็นไปในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ (r =0.496) เช่นกัน

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. (2564). โควิด-19 ยุคทองขายของออนไลน์...พาณิชย์แนะพ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564, จาก : https://www.dbd.go.th/news_view.

php?nid=469419403

เมทิกา พ่วงแสง และหญิง มัทนัง. (2563). แนวทางการส่งเสริมการตลาดสําหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีบ้านบึงตําบลบ้านบึง อําเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(2), 55-66.

วีระนันท์ คํานึงวุฒิ และอัญชนา กลิ่นเทียน. (2562). การพัฒนารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์และการตลาดออนไลน์สำหรับสินค้า OTOP ในประเทศไทย กรณีศึกษาสินค้า OTOP จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(2), 32-45.

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์.(2564). NERA ลูกปัดมโนราห์บ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ผลิตภัณฑ์นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2565, จาก : https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TCATG210927094224510

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2565 (ไตรมาส 1) . กรุงเทพฯ : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

วสันต์ เกียรติทะนงศักดิ์. (2563). การรับรู้คุณค่าตราสินค้าและการตลาดสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคอลลาเจน. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.

Mulyani O. and Hermina N. (2023). The Influence of Digital Marketing and Brand Awareness on Increasing Brand Image and its Impact on Purchasing Decisions. Prisma Sains: Jurnal Pengkajian Ilmu dan Pembelajaran Matematika dan IPA IKIP Mataram, 11(1), 132-145.

Guha S. , Mandal A. and Kujur F. (2021). The social media marketing strategies and its implementationin promoting handicrafts products: a study with special reference to Eastern India. Journal of Research in Marketing and Entrepreneurship, 23 (2), 339-364.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-23