การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง ประเภทสินค้าอะไหล่ตกแต่งรถจักรยานยนต์
คำสำคัญ:
ทฤษฎี ABC-FSN , การสั่งซื้ออย่างประหยัด (EOQ) , จุดสั่งซื้อใหม่ (ROP) , สินค้าคงคลังสำรอง (SS)บทคัดย่อ
งานวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง ประเภทอะไหล่สินค้าตกแต่งรถจักรยานยนต์ มีวัตถุประสงค์ในการจัดประเภทกลุ่มสินค้าตามมูลค่าและความถี่ในการใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลังของบริษัทกรณีศึกษา โดยใช้ข้อมูลการเคลื่อนไหวสินค้าของเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2564 โดยใช้ทฤษฎี ABC-FSN Matrix เพื่อจัดประเภทตามกลุ่มสินค้า ซึ่งผู้วิจัยได้คัดเลือกสินค้าในกลุ่ม AN มาวิเคราะห์ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าสูงแต่ความถี่ในการใช้งานต่ำ โดยกลุ่ม AN มีจำนวน 9 รายการ รวมเป็นมูลค่า 23,389,749 บาท จากนั้น ผู้วิจัยจึงใช้ทฤษฎี EOQ ในการหาปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดและหาจุดสั่งซื้อใหม่ (ROP) เข้ามาช่วยเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพในการสั่งซื้อ โดยนำทั้ง 9 รายการมาทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (VC) จากทั้งหมด 9 รายการมีเพียง 2 รายการที่มีค่าความแปรปรวนไม่เกิน 0.25 ซึ่งหมายความว่าเป็นรูปแบบความต้องการแบบคงที่และสามารถนำไปคำนวณ EOQ ได้ โดย 2 รายการนี้ คือ 70888FS-21CW, 60215US-50GL ผลการวิจัยสรุปได้ว่าสินค้า 70888FS-21CW มีปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดที่ 944 ชิ้นต่อครั้ง มีจุดสั่งซื้อใหม่ที่ 173 ชิ้น และมีปริมาณสินค้าคงคลังสำรอง 44 ชิ้น รวมถึงมีจำนวนครั้งในการสั่งซื้อลดลงเหลือ 2 ครั้งต่อปีจากแบบปัจจุบัน 3 ครั้งต่อปี และมีสินค้าคงเหลือเฉลี่ยอยู่ที่ 593 ชิ้นต่อปี ซึ่งลดลงจากแบบปัจจุบัน 1,212 ชิ้นต่อปี และสินค้า 60215US-50GL จะมีปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด อยู่ที่ 885 ชิ้นต่อครั้ง มีจุดสั่งซื้อใหม่อยู่ที่ 150 ชิ้น และมีปริมาณสินค้าคงคลังสำรอง 49 ชิ้น รวมถึงมีจำนวนครั้งในการสั่งซื้อลดลงเหลือ 2 ครั้งต่อปี จาก 4 ครั้งต่อปี และมีสินค้าคงเหลือเฉลี่ยอยู่ที่ 464 ชิ้นต่อปี ซึ่งลดลงจากแบบปัจจุบัน 913 ชิ้นต่อปี โดยเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนรวมในการสั่งซื้อรูปแบบปัจจุบันและรูปแบบใหม่ (EOQ) สินค้า 70888FS-21CW มีต้นทุนรวมลดลง 1,408,887.08 บาทต่อปี และ สินค้า 60215US-50GL มีต้นทุนรวมลดลง 1,104,643.65 บาทต่อปี โดยทั้ง 2 รายการ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลัง โดยการลดต้นทุนรวมได้ทั้งสิ้น 2,513,530.73 บาทต่อปี โดยคิดเป็นร้อยละ 64.72 ต่อปี
References
กานติมา ศรีวัฒนะ. (2562). การพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารคลังยา โรงพยาบาลสระบุรี. การค้นคว้าอิสระ. บริหารธุรกิจบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
ฉัตรดนัย รังสิทศคุณ (2560). การปรับปรุงประสิทธิภาพการวางแผนสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา บริษัท ซันซาย เปเปอร์บ๊อกซ์ จำกัด. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย, 3(2), 79-85.
นันทวรรณ สมศรี และศุภฤกษ์ เหล็กดี. (2563). การลดต้นทุนสินค้าคงคลังด้วยวิธี ABC - FSN Analysis กรณีศึกษาโรงงานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 93 หน้า.
พิชิต สุขเจริญพงษ์. (2545). การจัดการวิศวกรรมการผลิต. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. 284 หน้า.
พิภพ ลลิตาภรณ์. (2552). การบริหารพัสดุคงคลัง. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). 425 หน้า.
Jiradech. (2011a). จุดสั่งซื้อใหม่ (Reorder Point) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 24 มกราคม 2565, จาก : https://inventorymanagementmetrics.blogspot.com/2011/12/reorder-point.html.
Jiradech. (2011b). ระบบขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด (Economic Order Quantity หรือ EOQ) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 24 มกราคม 2565, จาก : https://inventorymanagementmetrics.blogspot.com/search/label/EOQ.
Piroj, K. (2017). EOQ คืออะไร? (Economic Order Quantity) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2565, จาก : https://greedisgoods.com/eoq-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD.
Nopiana. and Atik, N. (2021). Analysis of Cardiovascular Drugs Inventory Control Using ABC-EOQ-ROP-SS Method at Jakarta Islamic Hospital. Jurnal Medicoeticolegal dan Manajemen Rumah Sakit, 9(3), 237-247.