การศึกษาเชิงวิเคราะห์สุขสมดุลของบุคคลวัยทำงานภาคเอกชน
คำสำคัญ:
สุขสมดุล, การผสมผสานระหว่างงาน , ครอบครัวและชีวิตส่วนตัว , บุคคลวัยทำงานภาคเอกชนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง “สุขสมดุล” ของบุคคลวัยทำงานภาคเอกชนในปัจจุบัน ทั้งสภาวะที่ต้องเผชิญ การรับมือ และการบริหารจัดการ อีกทั้งเพื่อทราบถึงมุมมองในการผสมผสานระหว่างงาน ครอบครัว และชีวิตส่วนตัว รวมถึงปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการประสานสัมพันธ์ระหว่างงาน ครอบครัว และชีวิตส่วนตัวของบุคคลวัยทำงานภาคเอกชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านจิตวิทยาที่เรียกว่า การวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ (IPA) และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับบุคคลวัยทำงานภาคเอกชน ที่มีอายุระหว่าง 28 – 40 ปี จำนวน 10 คน โดยเป็นผู้ที่มีความสมัครใจในการให้ข้อมูลและพร้อมที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของตน บทความวิจัยนี้มุ่งนำเสนอใจความสำคัญของ “นิยามความหมายของชีวิตสุขสมดุลของบุคคลวัยทำงาน” ผลการศึกษาพบว่า “ชีวิตสุขสมดุล” คือ ชีวิตที่บุคคลสามารถจัดสรรแบ่งเวลาด้านการทำงาน ด้านครอบครัว และด้านส่วนตัวได้อย่างเหมาะสม โดยไม่ต้องมีความกังวล หรือความลำบากในการจัดการมากเกินไป สามารถบริหารและจัดการความคาดหวังของทุกฝ่ายให้เป็นไปได้อย่างนุ่มนวล รวมถึงการไม่ทำงานหนัก หรือมีความเครียดจน เกินไป สามารถผ่อนคลายและหาความสุขให้ตัวเองได้ มีเวลาให้ตนเองได้ทำในสิ่งที่ต้องการ โดยการจัดสรรเวลาให้เหมาะสมกับตัวเองและสถานการณ์ต่าง ๆ ในแต่ละวัน สู่ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อีกทั้ง ผลการวิจัยยังพบว่า ครอบครัวนับเป็นส่วนสำคัญของการมีชีวิตที่สุขสมดุลของบุคคลวัยทำงาน ทั้งนี้ บุคคลวัยทำงานมองว่าการผสมผสานระหว่างงาน ครอบครัว และชีวิตส่วนตัวเข้าด้วยกันอย่างลงตัวนั้น สามารถทำได้โดยมีปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการประสานสัมพันธ์ระหว่างงาน ครอบครัว และชีวิตส่วนตัว คือ 1) ความเข้าใจของบุคคลในครอบครัว 2) การมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง 3) การมีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) 4) การมีกรอบความคิด (mindset) ที่ดี 5) วัฒนธรรมองค์กรและสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน และ 6) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ผลการวิจัยดังกล่าวนำไปสู่ข้อเสนอแนะการพัฒนาโปรแกรมชีวิตสุขสมดุลของบุคคลวัยทำงานได้ในลำดับต่อไป
References
ชนิตา รุ่งเรือง และเสรี ชัดแช้ม. (2559). กรอบความคิดเติบโต: แนวทางใหม่แห่งการพัฒนาศักยภาพมนุษย์, วารสารวิจัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 14(1), 3-6.
ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล. (2560). การวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ: ระเบียบ วิธีวิจัยเชิงคุณภาพสำหรับ
การวิจัยทางด้านจิตวิทยา. วารสารศึกษาศาสตร์, 28(3), 1-13.
ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ. (2553). การพัฒนาแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครู. วารสาร วิธีวิทยาการวิจัย, 23(1), 25-54.
มนสิการ กาญจนะจิตรา. (2559). การวิจัยในโครงการการส่งเสริมการมีบุตรผ่านการสร้างสมดุลระหว่างการ
ทำงานและการสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
รัศมี มณีนิล. (2560). ความฉลาดทางอารมณ์ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567, จาก :
http://www.dmh.go.th/download/ebooks/EQ11.pdf. 31 พฤษภาคม 2560.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (มปป.). ไหวมั้ย... “วัยทำงาน” รับมือความเครียดจาก
สถานการณ์ Covid – 19. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565, จาก https://www.thaihealth.or.th/sook/info-mind-detail.php?id=192
Barnett, R.C. (1998). Toward a review and reconceptualization of the work/family literature.
Genetic, Social, and General Psychology Monographs. [Online]. Retrieved December 10th, 2023, Available : https://www.researchgate.net/publication/279891417_Toward_a_Review_and_Reconcept ualization_of_the_WorkFamily_Literature.
Bourhis, A., & Mekkaoui, R. (2010). Beyond work-family balance: Are family-friendly organizations
More attractive?. [Online]. Retrieved December 10th, 2023, Available : https://www.researchgate.net/publication/228196304_Beyond_Work- Family_Balance_Are_Family-Friendly_Organizations_More_Attractive.
Frone, M. R. (2000). Work–family conflict and employee psychiatric disorders: The national comorbidity survey. Journal of Applied Psychology, 85(6), 888 – 895.
Greenhaus, J. H., Collins, K. M., & Shaw, J. D. (2003). The relation between work-family balance and quality of life. Journal of Vocational Behavior, 63(3), 510–531.
Kirchmeyer, C. (1992). Nonwork participation and work attitudes: A test of scarcity vs. expansion models of personal resources. Human Relations, 45(8), 775–795.
Losoncz, I., and Bortolotto, N. (2009). Work-life balance: The experiences of Australian Working
Mothers. Journal of Family Studies, 15(2), 122-138.
Marks, S. R., & MacDermid, S. M. (1996). Multiple roles and the self: A theory of role balance. Journal of Marriage and the Family, 58(2), 417–432.
Pitmen, J. F. (1994). Work-family fit as a mediator of work factors on marital tension: Evidence from
the interface of greedy institutions. Journal of Family Issues, 35(9), 1252-1274.
Marlize Bisschoff, Vicki Koen & Elma H. Ryke. (2018). Strategies for work–family balance in a
South African context) Article in Community Work & Family. [Online]. Retrieved January 16th, 2023, Available : https://doi.org/10.1080/13668803.2018.1473337, 14.
Mireia Las Heras, Nuria Chinchilla and Marc Grau. (2017). The Work-Family Balance in Light
of Globalization and Technology. Cambridge Scholars Publishing, 145 pages.
บุคลานุกรม
ตูน/(ผู้ให้สัมภาษณ์)./ชนินาฏ/(ผู้สัมภาษณ์). ผ่านระบบออนไลน์ด้วยแอพพลิเคชั่น Microsoft Teams. เมื่อวันที่ 15/กุมภาพันธ์/2566.
ยอด/(ผู้ให้สัมภาษณ์)./ชนินาฏ/(ผู้สัมภาษณ์). ผ่านระบบออนไลน์ด้วยแอพพลิเคชั่น Microsoft Teams. เมื่อวันที่ 15/กุมภาพันธ์/2566.
เนม/(ผู้ให้สัมภาษณ์)./ชนินาฏ/(ผู้สัมภาษณ์). ผ่านระบบออนไลน์ด้วยแอพพลิเคชั่น Microsoft Teams. เมื่อวันที่ 16/กุมภาพันธ์/2566.
แพม/(ผู้ให้สัมภาษณ์)./ชนินาฏ/(ผู้สัมภาษณ์). ผ่านระบบออนไลน์ด้วยแอพพลิเคชั่น Microsoft Teams. เมื่อวันที่ 16/กุมภาพันธ์/2566.
โต/(ผู้ให้สัมภาษณ์)./ชนินาฏ/(ผู้สัมภาษณ์). ผ่านระบบออนไลน์ด้วยแอพพลิเคชั่น Microsoft Teams. เมื่อวันที่ 17/กุมภาพันธ์/2566.
กุ้ง/(ผู้ให้สัมภาษณ์)./ชนินาฏ/(ผู้สัมภาษณ์). ผ่านระบบออนไลน์ด้วยแอพพลิเคชั่น Microsoft Teams. เมื่อวันที่ 17/กุมภาพันธ์/2566.
นิด/(ผู้ให้สัมภาษณ์)./ชนินาฏ/(ผู้สัมภาษณ์). ผ่านระบบออนไลน์ด้วยแอพพลิเคชั่น Microsoft Teams. เมื่อวันที่ 20/กุมภาพันธ์/2566.
ยาง/(ผู้ให้สัมภาษณ์)./ชนินาฏ/(ผู้สัมภาษณ์). ผ่านระบบออนไลน์ด้วยแอพพลิเคชั่น Microsoft Teams. เมื่อวันที่ 20/กุมภาพันธ์/2566.
กล้า/(ผู้ให้สัมภาษณ์)./ชนินาฏ/(ผู้สัมภาษณ์). ผ่านระบบออนไลน์ด้วยแอพพลิเคชั่น Microsoft Teams. เมื่อวันที่ 21/กุมภาพันธ์/2566.
แมว/(ผู้ให้สัมภาษณ์)./ชนินาฏ/(ผู้สัมภาษณ์). ผ่านระบบออนไลน์ด้วยแอพพลิเคชั่น Microsoft Teams. เมื่อวันที่ 21/กุมภาพันธ์/2566.