ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดีร้านค้าปลีกผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากกัญชง กัญชา ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สฤษฎ์ ตะเส อาจารย์ประจำคณะการจัดการธุรกิจและการเงิน มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • ศิริวรรณ เอี่ยมศิริ อาจารย์ประจำคณะการจัดการธุรกิจและการเงิน มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • จรีย์ภัสร์ จุฑาธนัญญ์ อาจารย์ประจำคณะการจัดการธุรกิจและการเงิน มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • มะลิวัลย์ คุณกระมุท อาจารย์ประจำโครงการการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

คำสำคัญ:

คุณภาพบริการ, ความพึงพอใจ, ความภักดี

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดีร้านค้าปลีกผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากกัญชง กัญชา ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความภักดีร้านค้าปลีกผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากกัญชง กัญชา ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณสำหรับการศึกษาในครั้งนี้นั้นเลือกใช้วิธีการสำรวจด้วย แบบสอบถามที่สร้างขึ้นมาซึ่งผ่านการประเมินความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่นได้ 0.8  โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยคุณภาพบริการ กลยุทธ์ด้านราคา และคุณลักษณะของร้านค้า มีผลทางบวกต่อความพึงพอใจและความภักดี ของผู้บริโภคร้านค้าปลีกผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากกัญชง กัญชา ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในขณะที่ ปัจจัยคุณภาพผลิตภัณฑ์ ไม่มีผลต่อความพึงพอใจและความภักดี ของผู้บริโภคร้านค้าปลีกผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากกัญชง กัญชา ในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) ปัจจัยคุณภาพผลิตภัณฑ์ และปัจจัยความพึงพอใจของลูกค้า มีอิทธิพลทางบวกต่อความภักดีร้านค้าปลีกผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากกัญชง กัญชา ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนปัจจัยคุณภาพบริการ และกลยุทธ์ด้านราคา ไม่มีผลต่อความภักดีร้านค้าปลีกผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากกัญชง กัญชา ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ

References

ชนม์ชุดา วัฒนะธนากร และ บุฎกา ปัณฑุรอัมพร. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา-กัญชงของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธารนันท์ สุโนภักดิ์และมนตรี วิบูลยรัตน์. (2557) ปัจจัยด้านการตลาดบริการและพฤติกรรมที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ สินค้านำเข้าภายในซุปเปอร์มาร์เก็ต ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงานกรุงเทพมหานคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2542). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 419 หน้า.

มณฑิตา ปิยะธาราธิเบศร์.(2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาของกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิริพงษ์ ไข่มุก. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา-กัญชงในร้านคาเฟ่สำหรับผู้บริโภคในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไทยรัฐฉบับพิมพ์. (2564). ต่อยอดนวัตกรรมสินค้ากัญชา-กัญชง "ขุมทรัพย์ใหม่" ธุรกิจไทยยุคโควิด [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 12 เมษายน 2564, : จาก https://www.thairath.co.th/business/market/2067479.

Berry & Parasuraman. (1988). Servqual: A Multiple- Item Scale for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing. 64(1), 12–40.

Ehrenberg, A. (1972). Repeat buying. London: Charles Griffin.376 pages.

Kumar. (2002). The impact of performance, cost and competitive considerations onthe relationship between satisfaction and repurchase intent in businessmarkets. Journal of Service Research.42(4), 401-417.

Mittal, V., & Kamakura, W.A. (2001). Satisfaction, repurchase intent, and repurchasebehavior: investigating the moderating effect of customer characteristics. .Journal of Marketing Research. 38 (1), 131-142

Rahman, K.M., Haque, A., & Jalil, M.A. (2014). Driving Forces of Supermarket’sConsumer Trust and Loyalty: An Empirical Study in Malaysia. Australian Journal of Commerce Study. 8 (3), 377-386.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29