แนวการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนโบราณในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวชุมชนโบราณ, ศักยภาพและขีดความสามารถการท่องเที่ยวบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพในการรองรับของการท่องเที่ยวชุมชนโบราณในจังหวัดศรีสะเกษ 2) ศึกษารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนโบราณในจังหวัดศรีสะเกษ 3) กำหนดแผนพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนโบราณในจังหวัดศรีสะเกษไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐหน่วยงานราชการและภาคเอกชน ผู้ประกอบการในธุรกิจการท่องเที่ยว สถาบันการศึกษาและนักวิชาการอิสระ ตัวแทนชุมชนท่องเที่ยวโบราณ ทั้ง 5 แห่ง รวมทั้งสิ้น จำนวน 20 คน และการสอบถามด้วยแบบสอบถามนักท่องเที่ยว หรือผู้มาเยือนที่เข้ามาเยี่ยมชมใน 5 แหล่งท่องเที่ยวชุมชนโบราณ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อหากลุ่มคำ แล้วเชื่อมโยงคำที่มีความหมายซ้ำซ้อนกันเพื่อสร้างแก่นเรื่อง และบูรณาการข้อมูลเป็นเรื่องราว เชิงเหตุและผล ผลการวิจัย พบว่า 1. ศักยภาพและขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนโบราณในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ด้านศักยภาพทางกายภาพของแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก ด้านศักยภาพการรองรับนักท่องเที่ยว อยู่ในระดับปานกลาง ด้านศักยภาพการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก และด้านศักยภาพการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว อยู่ในระดับปานกลาง 2. รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนโบราณในจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ 1) การจัดกิจกรรมต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับคนในท้องถิ่น 2) การจัดกิจกรรมต้องสร้างผลประโยชน์ให้แก่ชุมชนให้มีรายได้จากการจัดกิจกรรมท่องเที่ยว 3) รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวมีความยืดหยุ่นและมีความหลากหลาย 4) รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวดึงเอาวิถีวัฒนธรรมของชุมชน อาหารการกิน หรือแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในพื้นที่มาสื่อสารให้สังคมได้รับรู้ 5) การเล่าเรื่องท่องเที่ยวชุมชนโบราณ ควบคู่กับการให้ความสำคัญต่อธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และชุมชน 3. การเสนอแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนโบราณในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ สรุปได้เป็น 6 ด้าน คือ 1) การพัฒนาการให้บริการทั้งกิจกรรมท่องเที่ยวและสถานที่บริการและการรองรับการท่องเที่ยว 2) การจัดการที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น 3) การจัดการที่สร้างผลประโยชน์ให้ชุมชน 4) รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวยืดหยุ่นและหลากหลาย 5) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการท่องเที่ยว และ 6) การเล่าเรื่องท่องเที่ยวชุมชนโบราณควบคู่กับการให้ความสำคัญต่อธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และชุมชนมากขึ้น
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). แนวคิด BCG ความหวังใหม่พลิกฟื้นการท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพมหานคร; กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 90 หน้า.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560–2568). กรุงเทพมหานคร; กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 14 หน้า.
กรมการท่องเที่ยว. (2564). แผนพัฒนาแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561 –2564. กรุงเทพฯ; กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 108 หน้า.
สำนักจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม. (2564). เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนย่านเมืองเก่าโบราณ. กรุงเทพฯ; กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 46 หน้า.
ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ : คู่มือนักศึกษาและนักวิจัยสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8) : กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 374 หน้า.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2564). แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชม. กรุงเทพฯ; องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). 146 หน้า.
Abreu Novais, M., Ruhanen, L., & Arcodia, C. (2020). Comparing supply and demand perspectives of destination competitiveness.
Richards, G. (2019). Creative tourism: opportunities for smaller places?. Tourism & Management Studies, 15(1SI), 7-10.
Somnuxpong, S. (2020). Chiang Mai: A creative city using creative tourism management. Journal of Urban Culture Research, 20, 112-132.
Var, T., & Gunn, C. (2020). Tourism planning: Basics, concepts, cases. Routledge.