ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำกระดาษสา : กลุ่มบ้านท่าล้อ ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา เฮ่ประโคน อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง
  • นภาพร ณ เชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง
  • สุดาวดี มีเพ็ชรทาน อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, กระดาษสา

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำกระดาษสา กลุ่มบ้านท่าล้อ ตำบลบ่อแฮ้ว  อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ศึกษาและเก็บรวบรวมโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ทำกระดาษสา กลุ่มบ้านท่าล้อ ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 20 ราย ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนของการทำกระดาษสาต่อแผ่น ประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง 0.10 บาทต่อแผ่นคิดเป็นร้อยละ 5.00 ค่าแรงงานทางตรง 1.12 บาทต่อแผ่นคิดเป็นร้อยละ 55.7 ค่าใช้จ่ายในการผลิตคงที่ 0.12 บาทต่อแผ่นคิดเป็นร้อยละ 6.00 และค่าใช้จ่ายในการผลิตผันแปร 0.67 บาทต่อแผ่นคิดเป็นร้อยละ 33.3 ส่วนต้นทุนรวมของกระดาษสาต่อแผ่น เท่ากับ 2.01 บาท รายได้จากการจำหน่ายกระดาษสาต่อเดือน เท่ากับ 20,833.33 บาท มีต้นทุนในการทำกระดาษสาต่อเดือน เท่ากับ 8,813.75 บาท คิดเป็นกำไรขั้นต้นจากการจำหน่ายกระดาษสาต่อเดือน เท่ากับ 12,019.58 บาท อัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขาย ร้อยละ 57.69 รายได้จากการจำหน่ายกระดาษสาต่อปี เท่ากับ 250,000 บาท มีต้นทุนในการทำกระดาษสาต่อปี เท่ากับ  105,765 บาท คิดเป็นกำไรขั้นต้นจากการจำหน่ายกระดาษสาต่อปีเท่ากับ 144,235 บาท อัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขายร้อยละ 57.69 ทำให้การลงทุนทำกระดาษสา มีจุดคุ้มทุนต่อเดือนเท่ากับ 885.20 บาท และจุดคุ้มทุนต่อปีเท่ากับปี 10,622.41 บาท ดังนั้น หากผู้ลงทุนทำกระดาษสาสามารถจำหน่ายกระกระดาษสาได้เป็นจำนวนมากขึ้น จะทำให้ผู้ลงทุนมีกำไรสูงขึ้น ควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการจ้างแรงงาน คือ การปรับจากการจ้างงานรายวัน เป็นการจ้างงานแบบเหมา  เพื่อป้องกันปัญหาแรงงานขาดงานหรือทำงานแบบเฉื่อยชา อีกทั้งการจ้างเหมาแบบเป็นการกระตุ้นให้แรงงานมีแรงผลักในการปฏิบัติงานมากขึ้น

References

กนกกาญจน์ ศรีสุรินทร์. (2560). ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าวนาปรัง กรณีศึกษาบ้านฮีหมู่ 3 ตำบลคำเจริญ อำเภอตระการพืชผลดี จังหวัดอุบลราชธานี. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 1201-1210. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ขวัญชนก วงศ์แพงสอน, กฤตพงศ์ วัชระนุกุล และวรวิทย์ กุลตังวัฒนา. (2554). ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของกลุ่มอาชีพหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา บ้านเชียงเครือ จังหวัดสกลนคร. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 58-63.

เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์. (2554). การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน. กรุงเทพฯ : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จํากัด (มหาชน). 353 หน้า.

ธนยา พร้อมมูล. (2559). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกสับปะรด กรณีศึกษาเกษตรกรรายย่อยตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพขององค์กร ส่งเสริมให้องค์กรมีความแข็งแกร่ง. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565, จาก : http://www.ejobeasy.com.

พัชนี แพทย์อุดม. (2562). ต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนปลูกพริกไทยแบบอินทรีย์เพื่อการค้าในจังหวัดจันทบุรี. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ไพบูลย์ สุขเจริญ. (2548). การศึกษาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุทธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์. (2555). บทบาทของสถานศึกษากับภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟเอ็ดดูเคชั่น.

สุขใจ ตอนปัญญา. (2554). ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนปลูกข้าวเกษตรกรหมู่ 5 ตำบลหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อม, 2564. กลุ่มกระดาษสาบ้านท่าล้อ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565, จาก : https://www.banauem.go.th/otop_detail.php?id=42.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 49-60.

บุคลานุกรม

ผู้สัมภาษณ์ 1-10 (ผู้ให้สัมภาษณ์). อัจฉรา เฮ่ประโคน (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านเลขที่ 362 หมู่ 9 ต.บ่อแฮ้ว อ.เมือง จ.ลำปาง 52120. เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565.

ผู้สัมภาษณ์ 11-20 (ผู้ให้สัมภาษณ์). อัจฉรา เฮ่ประโคน (ผู้สัมภาษณ์). ที่ เทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง 52110. เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29