กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลเมืองปอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน , ผู้ประกอบการท่องเที่ยวโดยชุมชน , การท่องเที่ยวโดยชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันของการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ 2. เพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลเมืองปอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามกรอบแนวคิดสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน ส่วนประสมทางการตลาดบริการ และความได้เปรียบทางการแข่งขัน การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชน ประกอบด้วยตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนผู้ประกอบการ และตัวแทนภาคประชาชน รวมทั้งสิ้น 15 คน ในช่วงระหว่าง พฤษภาคม - กรกฎาคม 2565 และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันด้านอำนาจการต่อรองของลูกค้า ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน และการแข่งขันกันภายในอุตสาหกรรมเดียวกันอยู่ในระดับมาก การท่องเที่ยวมีการแข่งขันสูงจากทั้งคู่แข่งทางตรง และคู่แข่งทางอ้อม ด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ พบว่าชุมชนเมืองปอนมีจุดเด่นในปัจจัยด้านบุคลากรมีองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวภายในชุมชนเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์เป็นจุดเด่นที่สำคัญที่สิ้นค้าและการให้บริการมีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ปัจจัยด้านราคา มีการตั้งราคาที่ลูกค้าสามารถยอมรับได้ ด้านกลยุทธ์ความได้เปรียบทางการแข่งขัน พบว่าเป็นผู้นำด้านต้นทุนโดยการนำวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในชุมชนนำมาใช้ในกิจการทำให้มีต้นทุนที่ต่ำ และกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างที่นำเอกลักษณ์ของชุมชนเข้ามาเป็นจุดขายของสินค้าและบริการ ดังนั้น ผู้ประกอบการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลเมืองปอน ควรมีการยกระดับส่วนประสมทางการตลาดบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐานการให้บริการและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการป้องกันอำนาจต่อรองของลูกค้า ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทนและการแข่งขันกันภายในอุตสาหกรรม และควรมุ่งเน้นกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างและกลยุทธ์การมุ่งตลาดเฉพาะส่วนที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). COVID 19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2565, จาก : https://www.mots.go.th/download/TourismEconomicReport/4-1TourismEconomicVol4.pdf.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2564 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2565, จาก : https://www.url.ie/.
กิตติภัฏ ฐิโณทัย และณัฐฐา วินิจนัยภาค. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการท่องเที่ยวโดยชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(2), 217–234.
ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐชยา ทองอินทร์ และกาญณ์ระวี อนันตอัครกุล. (2565). แรงจูงใจ นโยบายภาครัฐ และส่วนประสมทางการตลาด 4Es ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวช่วงวิกฤตโควิด 19 ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 6(2), 90–105.
วสุธิดา นักเกษม และประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการ ในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 2148–2167.
วัญวิริญจ์ แจ้งพลอย และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2559). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจร้านกาแฟ ของผู้ประกอบการรายย่อย ในเขตอาเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3), 2148–2167.
วิรัตน์ คำศรีจันทร์. (2556). Snowball Sampling Technique: การเรียนรู้และเข้าถึงชุมชนด้วยการอ้างอิงต่อเนื่องปากต่อปากในวิจัยแบบ PAR [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2565, จาก : https://www.gotoknow.org/posts/428764.
ศูนย์ประสานงานเครือข่าย การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2564). ประกาศงดให้บริการ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2565, จาก : https://www.facebook.com/maehongson.cbtnetwork.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2564). วิเคราะห์ผลกระทบของของโควิด-19 ต่อธุรกิจท่องเที่ยว[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2565, จาก : https://tdri.or.th/2021/02/covid-112/.
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2564). การท่องเที่ยวโดยชุมชน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารพัฒนาสังคม, 23(1), 211–225.
สุภางค์ จันทวานิช. (2559). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธาวัลย์ สัจจสมบูรณ์ และธีว์วรา ไหวดี. (2561). กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง เครื่องมือในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 2(3), 83–92.
สุธาสินี อัมพิลาศรัย, อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า และศิริเดช คำสุพรหม. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของหมู่บ้านท่องเที่ยวเมืองรองในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(2), 101–114.
อาชวิน ใจแก้ว. (2561). การบูรณาการศักยภาพการผลิตเชิงกลยุทธ์ที่มีผลต่อความได้เปรียบใน การแข่งขันของ คลัสเตอร์วิสาหกิจกลุ่มล้านนาในประเทศไทย. ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.
อังสุมาลิน จำนงชอบ, ล่ำสัน เลิศกูลประหยัด และกมลวรรณ คารมปราชญ์ คล้ายแก้ว. (2559). กลยุทธ์การเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดชลบุรีเพื่อดึงดูดกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(1), 153–172.
Creswell, J. W. (2014). Research Design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches. (4th Ed). California: Thousand Oaks. 304 pages.
Kotler, P. and Keller, K. L. (2012). Marketing Management. (14th Ed.). New Jersey : Prentice Hall. 657 pages.
Miles, M. B. and Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis: An Expanded Sourcebook. (2nd Ed.). California: Thousand Oaks. 338 pages.
Richards, G. and Wilson, J. (2006). Developing creativity in tourist experiences: A solution to the serial reproduction of culture? Tourism Management, 27(6), 1209–1223.
บุคลานุกรม
ผู้ให้สัมภาษณ์ 1-4 (ผู้ให้สัมภาษณ์). สุธาวัลย์ สัจจสมบูรณ์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองปอน 182 หมู่ 1 ต.เมืองปอน อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน 58140. เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565.
ผู้ให้สัมภาษณ์ 5-10 (ผู้ให้สัมภาษณ์). วัชราภรณ์ วารินทร์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ศาลาประชาคมหมู่1 ต.เมืองปอน อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน 58140. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565.
ผู้ให้สัมภาษณ์ 11-15 (ผู้ให้สัมภาษณ์). จิรายุ เติกอ่อง (ผู้สัมภาษณ์). ที่โฮมสเตย์บ้านป้าคำหลู่ เลขที่ 6 หมู่ 1 ต.เมืองปอน อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน 58140. เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565.