ความพึงพอใจของผู้เข้ามาใช้บริการสิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาล แพทย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ปรีชญา สามกองาม นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ ภาคพิเศษ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณัฐวีณ์ บุนนาค ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ ภาคพิเศษ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

คุณภาพการให้บริการ , ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการ , โรงพยาบาลแพทย์รังสิต

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการสิทธิประกันสังคมโรงพยาบาลแพทย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการแก่ผู้มาใช้บริการสิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาลแพทย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการสิทธิประกันสังคมโรงพยาบาลแพทย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามปัจจัยทางประชากรศาสตร์ และ 4) เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการสิทธิประกันสังคมโรงพยาบาลแพทย์รังสิต โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มาใช้บริการสิทธิประกันสังคมโรงพยาบาลแพทย์รังสิต จำนวน 399 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ด้วยวิธีเอ็นเทอร์

            ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนมากมีช่วงอายุ 31-40 ปี มีสถานภาพ โสด จบการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน15,001 - 20,000 บาท ผู้ประกันตนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพในการให้บริการและความพึงพอใจในการให้บริการโดยภาพรวม  อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ด้านเพศ สถานภาพและอาชีพที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการสิทธิประกันสังคมโรงพยาบาลแพทย์รังสิต จังหวัดปทุมธานีแตกต่างกัน นอกจากนี้ ปัจจัยคุณภาพการให้บริการ ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ และด้านความเห็นอกเห็นใจ ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการสิทธิประกันสังคมโรงพยาบาลแพทย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี

References

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน.(2559). รายงานประจำปี 2559. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565 ,จาก https://www.pier.or.th.

โรงพยาบาลแพทย์รังสิต.(2565). ข้อมูลสถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลแพทย์รังสิต. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565 ,จาก : https://www.patrangsit.com/.

ฝ่ายทรัพยากรบุคคลโรงพยาบาลแพทย์รังสิต.(2565). จำนวนผู้ประกันตนของโรงพยาบาลแพทย์รังสิต.[ออนไลน์].ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565 ,จาก : https://www.patrangsit.com.

นภาพร จุดาบุตร. (2557). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

บุญชม สีสะอาด. (2556). วิธีวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุษราภรณ์ ฉายชูผล .(2552). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการบริการของสำนักงานประกันสังคม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.

วิรัตน์ ชนะสิมมา และทตมัล แสงสว่าง.(2564). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนที่ชำระภาษีท้องถิ่นกับเทศบาลตำบลหนองนาคำ กรณีศึกษาตำบลบ้านโคก อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11 (2), 15-28.

Cronbach, L. J. (1970). Essential of Psychological Testing. 5th ed., New York: Harper and Row Publishers Inc.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbein, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd.New York. Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-31