ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชัน ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วลัย ซ่อนกลิ่น อาจารย์ประจำสาขาการตลาดดิจิทัล คณะการจัดการธุรกิจและการเงิน มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • ไชยรัตน์ กิมสวัสดิ์ ผู้ช่วยศาตราจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาดดิจิทัล (การศึกษาทางไกล) คณะการจัดการธุรกิจและการเงิน มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • นัทธ์หทัย อัครธนเตชสิทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะการจัดการธุรกิจและการเงิน มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

คำสำคัญ:

บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ , ส่วนประสมทางการตลาด , การตัดสินใจใช้บริการ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจบริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชัน ในเขตกรุงเทพมหานคร 2. ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3. ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล จำนวน 400 คน เลือกสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage sampling) สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่า 1) ในภาพรวมผู้บริโภคมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจบริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชัน ในเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก คิดเป็นคะแนนความคิดเห็นเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน จะมีความคิดเห็นอยู่ในช่วงคะแนนเฉลี่ยคือ 3.88 – 4.28 ซึ่งอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ถึงเห็นด้วยมากที่สุด 2) พฤติกรรมในการตัดสินใจใช้บริการ จะใช้บริการ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ สั่งแบบอาหารจานเดียว สถานที่ที่ให้จัดส่งอาหารคือที่พักอาศัย ช่วงเวลาที่สั่ง 12.01-18.00 น. ราคาเฉลี่ยที่สั่งซื้อต่อครั้งน้อยกว่า 500 บาท โดยใช้แอปพลิเคชัน Grab Food และมีการตัดสินใจเลือกใช้บริการด้วยตนเอง 3) ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดด้านราคาและด้านการส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลด้านบวกต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในทำนองเดียวกันส่วนประสมทางการตลาดด้านกายภาพ และด้านกระบวนการ มีอิทธิพลด้านลบต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในขณะที่ ส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านบุคคล ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร

References

กนกวรรณ นุชนารถ, จิราภา พนารินทร์, ธนภรณ์ ปิยพิทักษ์บุญ, ภัทธนัน สาระโชติ, ธรณิศร นาคสัมพันธ์, ศุภชัย เหมือนโพธิ์ และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ Food Delivery. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 3(2), 44-53.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ดันธุรกิจร้านอาหารที่ให้บริการพร้อมส่งแบบฟู้ดเดลิเวอรี่เติบโตแบบก้าวกระโดด [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2565, จาก : https://www.dbd.go.th.

กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. (2564). จำนวนประชากรและความหนาแน่นในเขตกรุงเทพมหานคร 2564 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 27 กันยายน 2565, จาก : https://webportal.bangkok.go.th.

กัญสพัฒน์ นับถือตรง. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ในจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 104-112.

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2549). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติอำพล สุดประเสริฐ, บุณยาพร ภู่ทอง, อนุช นามภิญโญ, แววมยุรา คำสุข และสุวัจน์ ด่านสมบูรณ์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสั่งซื้ออาหารออนไลน์ผ่าน Grab Food ของผู้บริโภคในตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 18(2), 87-110.

จุฑามาศ อุปภัมภ์, ธีรวัฒน์ ภูระธีรานรัชต์, และอุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อของสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 5(2), 73-87.

ชัชดาภรณ์ จอมโคกกรวด. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการจัดส่งอาหารในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐรุจา พงศ์สุพัฒน์. (2563). การศึกษาตลาดแอปพลิเคชันอาหารและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันอาหาร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐศาสตร์ ปัญญานะ และวัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการอาหารตามสั่งแบบจัดส่ง. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(1), 53-65.

ภรญ์สุภัศศ์ สิริโชคโสภณ. (2564). การยอมรับเทคโนโลยีและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินสั่งอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(4), 19–32.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และศุภร เสรีรัตน์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). โควิด-19 และมาตรการควบคุมการระบาด...คาดทั้งปี 2564 มูลค่าตลาดจัดส่งอาหารขยายตัวร้อยละ 18.4 – 24.4 (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3256) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2565, จาก : https://Kasikornresearch.com

สัณฑวุฒิ ตุลารักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (รายงานวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. 107 หน้า.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถิติประชากรศาสตร์ และเคหะ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2565, จาก : http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cheechongruay. (2019). แอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร ดันธุรกิจ Food Delivery โตต่อเนื่อง คาดมีมูลค่าสูงถึง 3.3-3.5 หมื่นล้านในปี 2562. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565, จาก : https://cheechongruaysmartsme.co.th/content/24180.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons. Inc.

Jun, K., Yoon, B., Lee, S., and Lee, D.S. (2022). Factors Influencing Customer Decisions to use Online Food Delivery Service during the COVID-19 Pandemic [Online]. Available : https://www.mdpi.com/2304-8158/11/1/64.

Kotler, P. & Keller, K.L. (2016). Manager Management (15th Ed.). New Jersey: Pearson Education.

Kotler, P. (2003). Marketing Management (11th Ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-hall.

Loudon, D. & Bitta, A.J. (1993). Consumer behavior (14th Ed.). New York: McGraw-Hill.

Marketeer. (2021). ตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ ยิ่งกดสั่ง ยิ่งแข่งขันกันสนุกกว่าเดิม. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 กันยายน 2565,จาก : https://marketeeronline.co/archiver/218958.

Schiffman, L. G., and Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior. (5th ed.). Englewood Cliffs, N.J. : Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29