ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรลของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา

ผู้แต่ง

  • คุณากร เปลื้องทุกข์ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ธนกฤต สังข์เฉย อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ปัจจัยเชิงเหตุ, ความตั้งใจ , วิ่งเทรล

บทคัดย่อ

           การวิ่งเทรลเป็นกีฬาที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้คนหันมาสนใจกับการเล่นกีฬาที่สร้างความตื่นเต้นและท้าทาย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรล ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาจำนวน 400 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์วิ่งเทรล ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาเพื่ออธิบายค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปร และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรลของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาสำหรับการวิจัยนี้ประกอบด้วย 5 ตัวแปร ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง ความมุ่งมั่นในการเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรล ทัศนคติต่อการวิ่งเทรล แรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรล และความตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรล ผลการวิจัยพบว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดีมาก พิจารณาจาก CMIN/df.= 1.21, CFI= 0.99, NFI = 0.98, AGFI= 0.95, IFI= 0.99, RMR = 0.02 และ RMSEA = 0.02 ตัวแปรในโมเดลสามารถพยากรณ์ความตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรลได้ร้อยละ 73.1 แรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรลพบว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิลทางตรงมากที่สุดต่อความตั้งใจการเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรล ขณะที่ความมุ่งมั่นในการเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรลเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมมากที่สุดต่อความตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรลของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา ผลการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้จัดงานวิ่งเทรลที่จะนำข้อค้นพบไปประยุกต์ใช้สำหรับการออกแบบกิจกรรมวิ่งเทรลเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับประสบการณ์ที่ตอบสนองแรงจูงใจและลักษณะทางจิตวิทยาของนักกีฬา

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการ

ท่องเที่ยวเชิงกีฬา. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). ประกาศกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เรื่องแนวทางปฏิบัติการจัดกิจกรรม

วิ่งตามภูมิประเทศ (Trail Running). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. .

ธนกฤต สังข์เฉย, พรหมมาตร จินดาโชติ และ รสมารินทร์ อรุโณทัยพิพัฒน์. (2564). แรงจูงใจของนักวิ่งมาราธอน:

การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศและกลุ่มอายุ. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ

ระดับชาติ เรื่อง คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 8 (น. 285-300). มหาวิทยาลัย

การจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.

ภูษณพาส สมนิล, โฆษิตพิพัฒน์ สีหานู, ณัฐวุฒิ นิลแสง และ จุฑารัตน์ ไชยมณี. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดที่มี

อิทธิพลต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของกิจกรรมงานวิ่งเทรล. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและ

สุขภาพ, 21(2), 695-309.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). K SME Analysis ออกกำลังกายฮิต ปลุกกระแสธุรกิจรักสุขภาพ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15

มีนาคม 2565, จาก: https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/

fitnessBT.aspx.

สักกรินทร์ นิยมศิลป์. (2563). คนไทย 16 ล้านคนเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ. สุขภาพ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2565,

จาก: www.thaihealthreport.com/th/articles_detail.php?id=74.

สถาบันวิจัยประชากรสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). กระแสนิยมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพสู่ยุคเฟื่องฟูของธุรกิจกีฬา.

ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก: www.thaihealthreport.com/th/situation_ten.php?id =9&y =

&bm=1

Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational behavior and human decision

processes, 50(2), 179–211.

Cronbach, L. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-

Hair, J., Black, W., Babin, B., Anderson, R. and Tatham, R. (2006). Multivariate data analysis. 6th

Edition, Pearson Prentice Hall, Upper Saddle River.

Harter, S. (1999). The construction of the self: A developmental perspective. Guilford Press.

Nunnally, J.C. (1978) Psychometric theory. 2nd Edition, McGraw-Hill, New York.

Rovinelli, R. J. and Hambleton, R.K. (1977) On the use of content specialists in the assessment

of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor onderwijs research, 2,49-60. Standage, M., & Ryan, R. M. (2020). Self‐determination theory in sport and exercise. In G. Tenenbaum,

R. C. Eklund, & N. Boiangin (Eds.), Handbook of sport psychology: Social perspectives,

cognition, and applications (pp. 37–56). John Wiley & Sons, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-23