สมรรถนะที่จำเป็นของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • กาญจนา จินดานิล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร และผู้สอบบัญชีภาษีอากร กรมสรรพากร
  • ชิติพัทธ์ ชิตสกุล อาจารย์ ประจำหลักสูตร บัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี , ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของการศึกษาเกี่ยวกับสมรรถนะที่จำเป็นของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในศตวรรษที่ 21 เพื่อค้นหาความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะหรือความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 นั้นว่าประกอบด้วยรายละเอียดอะไรบ้างในแต่ละด้านทั้งนี้ เพื่อนำผลจากการศึกษามาประยุกต์ใช้กับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสมจากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า พบว่า ด้านความรู้หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพบัญชี ได้แก่ ความเชี่ยวชาญด้านมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชี การจัดทำรายงานตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินและการวิเคราะห์ทางการเงิน การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี การใช้ระบบสารสนเทศทางบัญชี และความรู้ด้านประมวลรัษฎากร กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้านทักษะพื้นฐานที่จำเป็น ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการคำนวณและตัวเลข ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์และการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และด้านคุณลักษณะที่จำเป็น ได้แก่ การมีภาวะผู้นำ จริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม หลักธรรมาภิบาลและการปฏิบัติตามกฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาในเรื่องนี้ องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่และรับผิดชอบทางด้านบัญชีในองค์กร ทั้งในด้านการสรรหาและคัดเลือก ด้านการวางแผนการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสูงขึ้น ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และด้านการจ่ายค่าตอบแทนที่จูงใจให้แก่บุคลากรขององค์กร ทั้งนี้ เพื่อให้บุคลากรขององค์กรมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้องค์กรประสบความสำเร็จในการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่กำหนดไว้

 

References

เกรียงไกร บุญเลิศอุทัย และดนุชา คุณพนิชกิจ, (2555). IES2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรีทางการบัญชี. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 34(134) : 162

ณัชชา คล้ายสุบรรณ และกุสุมา ดำพิทักษ์. (2562). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการในยุคดิจิทัล. วารสารมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย,11(1), 1-14.

เด่นพงษ์ สุดภักดี. (2557). แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ดิจิทัลเนทีฟ, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 12.

ธีระพล เจริญสุข. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรกรมสรรพสามิตในเขตกรุงเทพมหานคร.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์. (2555). ประเภทของสมรรถนะ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2566, จาก : http://www.gotoknow.org/posts/501771.

นุจรี อร่ามพันธ์. (2561).ทักษะทางวิชาชีพที่จำเป็นสำหรับนักบัญชีองค์กรรัฐวิสาหกิจในศตวรรษที่ 21 : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคกลาง). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นันทวรรณ บุญช่วย (2563). ยุคพลิกผันทางเทคโนโลยีกับการพัฒนานักบัญชีนวัตกร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 3(1), 15-26.

ประสุตา นาดี, ธุวพร โคนพันธ์, กมลลักษณ์ มาตราช, ทัศนัย นาทัน, ตวัน ทัศนบรรลือ, ปานชีวา กุลีสูงเนิน, ศุภาพิชญ์ ตรงวัฒนาวุฒิ, บุษยมาส เทียนกระจ่าง, พรพิมล หว่างพัฒน์, และ ศุภกัญญา ภูทองกิ่ง.(2564). สมรรถนะของนักบัญชีในยุคดิจิทัล: ทักษะการปรับตัวในโลกที่เปลี่ยนแปลง.วารสารศิลปศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 8(2), 3-18.

พิชชาพร ธรรมรัตน์, สุวิมล ติรกานันท์และกมลทิพย์ ศรีหาเศษ. (2564). การศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะนักวิชาชีพบัญชียุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38 (103),14 - 23.

รุ่งระวี มังสิงห์ และชุมพล รอดแจ่ม. (2564). สมรรถนะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัลตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 6(1), 100-119.

วริยา ปานปรุง, ทิวัตถ์ มณีโชติ, ชัชสรัล รอดยิ้ม และนัฐพงศ์ ส่งเนียม. (2563). การพัฒนารูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้และทักษะทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อสมรรถนะของนักบัญชีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 12(1),22-35.

วิชญะ น้อยมาลา. (2564). ทักษะจำเป็นของการทำงานในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 3(1), 141.

แววตา เตชาทวีวรรณ. (2559). การรู้สารสนเทศสาหรับการเรียบเรียงโครงงาน.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2559). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ฉบับปรับปรุง Volume 2015). ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2565, จาก http://www.fap.or.th/มาตรฐานวิชาชีพบัญชี/มาตรฐานการศึกษาและเทคโนโลยี.html.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี ว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 29 เมษายน 2566, จาก : http://www.tfac.or.th/Article/Deltail/66980.

สรัชนุช บุญวุฒิ และไพฑูรย์ อินต๊ะขัน. (2559). การศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของนักบัญชียุคใหม่ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 9(1), 167-177.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2559). การรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จาก : https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/ 142-nowledges/2632.

อัญชลี ชัยศรี. (2563). การบริหารทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานสมรรถนะ. วารสารวิชาการ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย บุรีรัมย์, 5(2), 54-65.

อัฏฐวัณณ์ จันทสุทโธ. (2564). การประเมินความต้องการจำเป็นของทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชีในประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยธนบุรี. 13(3) : 52-63.

Barac, K..(2009). South African training offers 's perception of the knowledge and skills requirements of entry-level trainee accountants. University of South Africa.

Boyatzis, R. (1982). The Competent Manager: A Model for Effective Performance. NewYork : Wiley Inter-science.

Mc Clelland, D. (1973). Testing for Competency Rather than for intelligence. American Psychologist. 28(1). 1-14.

Palmer, K. N., Ziegenfuss, D. and Prinsker, R. (2004). Intermotional Knowledge, skill, and abilities of auditor/accountant Evidence from recent competency studies. Old Dominion University.

Thipwiwatpotjana, S. and Bootnoi, N. (2019). The impact of accounting ethics on ethical behaviors and decision making of accounting firm executives in Thailand. MFU connexion, 8(2), 180-195.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30