ทัศนคติต่อการเล่นพนันฟุตบอลของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สกนธ์ แสนหาญ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการฟุตบอลอาชีพ
  • อาชวิทธิ์ เจิงกลิ่นจันทน์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการฟุตบอลอาชีพ
  • บุญญาดา พาหาสิงห์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการการกีฬา (ระบบการศึกษาทางไกล)
  • มารดี ศิริพัฒน์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการการกีฬา (ระบบการศึกษาทางไกล)
  • สุภกร ตันวราวุฒิชัย วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการฟุตบอลอาชีพ

คำสำคัญ:

รูปแบบ, ทัศนคติ, การเล่นพนันฟุตบอล

บทคัดย่อ

           งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและทัศนคติต่อการเล่นพนันฟุตบอลของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบทัศนคติต่อการเล่นพนันฟุตบอลของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ในการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น เก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย โดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ ลักษณะประชากร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีช่วงอายุ 41 - 50 ปี สถานภาพส่วนใหญ่สมรส มีการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาทขึ้นไป 2) ผลการวิเคราะห์ รูปแบบที่เกิดขึ้นกับการเล่นพนันฟุตบอลของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ มีรูปแบบการเล่นพนันฟุตบอลผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยผู้เล่นพนันสมัครเล่นกับพนันฟุตบอล ออนไลน์โดยตรง รูปแบบการเล่นพนันฟุตบอลผ่านทางเจ้ามือหรือโต๊ะรับเล่นพนันฟุตบอลด้วยวิธีการโทรศัพท์ไปเล่นพนันที่โต๊ะหรือใช้เครดิตเล่นก่อนจ่ายหลัง การอ่านวิเคราะห์ฟุตบอลก่อนแข่งขันมาจากการเปิดเว็บไซต์ต่าง ๆ ดูการวิเคราะห์ รูปแบบการเล่นพนันฟุตบอลเต็ง (คู่เดียว) ส่วนใหญ่ต่ำกว่า 1,000 บาท รูปแบบการเล่นพนันฟุตบอลแบบสเต็ป (สามคู่ขึ้นไป) อย่างต่ำส่วนใหญ่เป็นเงิน 101-300 บาท และส่วนใหญ่นิยมเล่นพนันฟุตบอลในพรีเมียร์ลีกและลีกรองประเทศอังกฤษ 3) ผลการวิเคราะห์ ทัศนคติการเล่นพนันฟุตบอลของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย 4) ผลการวิเคราะห์ ลักษณะประชากร ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ วุฒิการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกันมีผลต่อการเล่นพนันฟุตบอลของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กฤษฎา พรประภา. (2560). พฤติกรรมการเล่นการพนันและความคิดเห็นของประชาชนในประเทศไทยที่มีต่อสถานบันเทิงครบวงจรรีสอร์ทคาสิโนในประเทศไทย. Veridian E-Journal, 10(2), 266-285.

กติกา สุขสวัสดิ์และประพนธ์ สหพัฒนา. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเล่นการพนันฟุตบอลของเยาวชน

ในสถาบันการอาชีวศึกษา. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 10(2), 23-44.

ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2558). Basic Marketing การตลาดเข้าใจง่ายกว่าที่คุณคิด. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.

เดโช สวนานนท์. (2520). ปทานุกรมจิตวิทยา. กรุงเทพ ฯ : โอเดียนสโตร์.

ปรีชญา เอี่ยมวงค์นที. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการซื้อสินค้าท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต (Tops Supermarkets) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พงศธร แก้วมณี. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมการเล่นการพนันของนิสิตระดับปริญญาตรี: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยบูรพาบางแสน. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 3(2), 136-148.

พีรศักดิ์ มนต์ชัยกุล. (2564). อิทธิพลส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าชมฟุตบอลในสนาม กรณีศึกษา

สโมสรอยุธยา ยูไนเต็ด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วสันต์ ปัญญาแก้ว. (2557). ฟุตบอลไทย ประวัติศาสตร์ อำนาจ การเมือง และความเป็นชาย ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน.

วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ. (2564). รายงานสถานการณ์การพนันในสังคมไทย ปี 2564 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ สิงหาคม 14, 2565, จาก: https://www.gamblingstudy-th.org/document_book/169/1/3/cgs-national- survey-2564/.

เอกพล จันทนะสาโร. (2561). การศึกษาสำรวจทัศนคติของคนไทยต่อการตั้งคาสิโนในประเทศไทย.

วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Allport, G. W. (1935). Attitudes. In Handbook of social psychology. Edited by C. Murchison, Worcester, MA: Clark Univ. Press.

Sarti, S., & Triventi, M. (2017). The role of social and cognitive factors in individual gambling: An empirical study on college students. Social Science Research, 62(1), 219-237.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25