การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวเหนียว ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ดารณี ดวงพรม อาจารย์สาขาวิชาการจัดการการค้า ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชลิดา ศรีสุนทร อาจารย์สาขาวิชาการจัดการการค้า ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์, เฟซบุ๊ก, ข้าวเหนียว

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาแนวทางการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวเหนียวผ่านช่องทางเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในจังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวในตำบลโพนงาม จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาคุณภาพของระบบสารสนเทศของผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในตำบลโพนงาม จังหวัดอุดรธานี และ 3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวเหนียวผ่านช่องทางเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในจังหวัดอุดรธานี  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยเลือกวิจัยแบบเชิงปริมาณ เครื่องมือวิจัยได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ

            ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ทั้งหมด 400 คน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท ตัดสินใจซื้อข้าวเหนียวผ่านช่องทางออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊ก มีความถี่ในการใช้ช่องทางเฟซบุ๊กในการซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียว 2-5 ครั้งต่อเดือน และราคาเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวที่ซื้อผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ราคา 101-500 บาท ผลการวิเคราะห์การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์พบว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญ ด้านความบันเทิง ด้านการปฏิสัมพันธ์ ด้านความนิยม ด้านความเฉพาะเจาะจง ด้านการบอกต่อ และด้านความไว้วางใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์คุณภาพของระบบสารสนเทศพบว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญด้านคุณภาพระบบ ด้านคุณภาพข้อมูล และด้านคุณภาพบริการ อยู่ในระดับมากที่สุด และการทดสอบสมมติฐาน พบว่าการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ด้านการปฏิสัมพันธ์ ด้านความเฉพาะเจาะจง และด้านความไว้วางใจ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวเหนียวผ่านช่องทางเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในจังหวัดอุดรธานี ส่วนคุณภาพของระบบสารสนเทศ ด้านคุณภาพข้อมูล และด้านคุณภาพบริการ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวเหนียวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดอุดรธานี

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). คู่มือการดำเนินงานโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 81 หน้า.

กรรณิการ์ ชัยอำนาจ และกฤษฎา มูฮัมหมัด. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านทางแอพพลิเคชั่น SHOPEE ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 , 13 สิงหาคม 2563. 954 – 969. กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยรังสิต.

จิราภรณ์ เลิศจีระจรัส. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 9(1) , 58-76.

ณัฐพัชร์ ล้อประดิษฐ์พงษ์. (2549). คู่มือสำรวจความพึงพอใจลูกค้า.กรุงเทพฯ: ประชุมทองพริ้นติ้งกรุ๊ป. 158 หน้า.

ธนพงศ์ กำเนิดชูตระกูล, และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). ปัจจัยการบอกต่อ การจัดอันดับและการวิจารณ์สินค้า คุณภาพของข้อมูลและการบริการที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการขายเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านทางสังคมออนไลน์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (S-commerce) ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติสหวิทยาการ เอเชียอาคเนย์ 2559 ครั้งที่ 3 , 23 มิถุนายน 2559. 1357-1366. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.

พิศุทธิ์ อุปถัมภ์ และนิตนา ฐานิตธนกร. (2557). ความไว้วางใจและลักษณะธุรกิจผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไพฑูรย์ เวทการ. (2551). การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 28 กันยายน 2566, จาก : https://www.google.co.th/webhp?sourceid=chrome-instant&ion =1&espv=2&ie=UTF-8#.

รัฐการ บัวศรี. (2564). แนวทางส่งเสริมการตลาดออนไลน์ของวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 1.3(2021), 22-32.

ศศิชา กัณฑพงษ์. (2561). พฤติกรรมของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อข้าวสารผ่านช่องทางออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ข้อมูลสถิติและพฤติกรรมการใช้งานเฟซบุ๊กในปี 2021 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566, จาก : https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). รายงานตารางมูลค่าการส่งออกต่อหน่วยของข้าวแต่ละสายพันธุ์ เฉลี่ยในปี

[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2566, จาก : https://www.oae.go.th/view/1 /TH-TH.

Cochran, W.G. (1977) . Sampling Techniques. 3d ed. New York : John Wiley and Sons Inc.

Godey, B., Manthiou, A., Pederzoli, D., Rokka, J., Aiello, G., Donvito, R., & Singh, R. (2016) .Social Media Marketing Efforts of Luxury Brands: Influence on Brand Equity and Consumer Behavior. Journal of Business Research, 69(12), 5833-5841.

Gorla, N., Somers, T. M., & Wong, B. (2010). Organizational impact of system quality, information quality, and service quality. Journal of Strategic Information Systems, 19, 207–228.

Kim, S. and Park, H. (2013). Effects of Various Characteristics of Social Commerce (S-Commerce) on Consumers’ Trust and Trust Performance. International Journal of Information Management, 33, 318-332.

Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and

Measurement. Fishbeic, Martin, Ed. New York: Wiley & Son.

McKnight et al. (2002). The impact of initial consumer trust on intentions to transact with a web site: a trust building model. Volume 11, Issues 3–4, December 2002, 297-323.

Wang, Y., Wang, W., & Liu, E. (2016). The stickiness intention of group-buying websites: The integration of the commitment–trust theory and e-commerce success model. Information & Management, 53, 625-642.

YU Huh, FR Keller, TC Redman, AR Watkins. (1990). Information and Software Technology. Volume 32, Issue 8, October 1990, 559-565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29