การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ของกลุ่ม Generation X และ Generation Y

ผู้แต่ง

  • ชาญณรงค์ ร่วมเผ่าไทย นักศึกษาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วรดี จงอัศญากุล รองศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า , ความตั้งใจซื้อ , เจเนอเรชัน

บทคัดย่อ

           งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของกลุ่มGeneration X และ Generation Y การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน คือ ประชากรทั้งเพศหญิงและเพศชายที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2508 - 2540 โดยได้แบ่งเป็น 2 เจเนอเรชัน ได้แก่ Generation X และ Generation Y เนื่องจากเป็นเจเนอเรชันที่มีกำลังในการซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ผลการทดสอบ T-Test พบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ที่จะได้รับมีผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแตกต่างกันในแต่ละ Generation อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดย Generation Y ให้ความสำคัญมากกว่า Generation X  ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายต่อการใช้งาน และด้านทัศนคติมีผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า แตกต่างกันในแต่ละ Generation อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดย Generation X  ให้ความสำคัญมากกว่า Generation Y

References

กุลิศ สมบัติศิริ. (2564). กฟผ. ร่วมสร้างสังคมแห่งการเดินทางยุคใหม่เปิดตัวธุรกิจ “EGAT EV Business Solutions จับมือค่ายรถยนต์ระดับโลกร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2565,จาก : https://www.egat.co.th/index.phpoption=com_content&view=article&id&Itemid=208.

ผู้จัดการออนไลน์. (2563). GEN Y, GEN Z แชมป์ก่อหนี้คนรุ่นใหม่กู้ทะลุแสนล้าน. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 11 สิงหคม 2565, จาก :https://mgronline.com/daily/detail/9630000063445.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). โครงสร้างทางสังคมของไทย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2565, จาก : http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/home.aspx 11 สิงหาคม 2565.

อภิญญา หิรัญวงษ์. (2557). สถิติประยุกต์ทางจิตวิทยา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Cochran, W.G. (1997). Sampling Techniques. 3rd Edition, John Wiley & Sons, New York.

Goldman Sach. Electric Vehicles, (2021). การคาดการณ์ยอดขายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าทั่วโลกตั้งแต่ปี 2568-2583. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2565, จาก : file:///C:/Users/banvi/Downloads/special_issue_210723.pdf

He, Zhan, and Hu (2018) . Effectiveness of policy incentives on electric vehicle acceptance in China: A discrete choice analysis. Transportation Research Part A : Policy and Practice, 105, 210-218.

Huang and Ge, J. (2019). Electric vehicle development in Beijing: An analysis of consumer purchase intention. Journal of Cleaner Production, 216, 361-372.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29