การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าของชมรมผู้สูงอายุในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • ศุภิลักษณ์ สืบสิงห์ อาจารย์สังกัดสาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • จัดการ หาญบาง อาจารย์สังกัดสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, อีคอมเมิร์ซ, ชมรมผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจการใช้งานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)  ให้กับชมรมผู้สูงอายุในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา และพัฒนาต้นแบบเว็บไซต์ในการส่งเสริมการขายสินค้าของชมรมผู้สูงอายุ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้สูงอายุตำบลหนองแหน จังหวัดฉะเชิงเทรา ดำเนินการวิจัยโดยการสำรวจข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกิจกรรมในการฝึกอาชีพ กิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ และการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ เพื่อนำมาออกแบบสร้างเว็บไซต์ในการส่งเสริมการขายสินค้าของชมรมฯ โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมินความพึงพอใจของระบบโดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่สมาชิกและคณะกรรมการของชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองแหน จำนวน 60 คน ดำเนินการทดลองโดยใช้เครื่องมือวิจัยด้วย “แบบประเมินความรู้ที่ได้รับหลังจากการอบอรมให้ความรู้”การใช้งานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ “แบบประเมินต้นแบบเว็บไซต์” โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเว็บไซต์ และ “แบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานเว็บไซต์ในการส่งเสริมการขายสินค้าของชมรมฯ” สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินทดสอบระดับความรู้ค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนการอบรมเท่ากับ 14.20 และ ค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการอบรมเท่ากับ 16.48 ร้อยละของระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้น 22% จากสถิติแสดงให้เห็นได้ว่าสมาชิกผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจการใช้งานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายหลังที่ได้รับการอบรม และผลการประเมินความพึงพอใจโดยภาพรวมของสื่อต้นแบบเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ (ช่วงต้นแบบสมบูรณ์) (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.79) และประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54) ผลประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก สามารถนำไปใช้งานเป็นสื่อต้นแบบเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าได้

References

กิตติ สิริพัลลภ. (2543). การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Marketing). วารสารบริหารธุรกิจ, 23(87), 43-56.

กนกพัชร กอประเสริฐ และพงศ์สฏา เฉลิมกลิ่น. (2561).การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับห่วงโซ่คุณค่า ผักปลอดภัยในจังหวัดนครปฐม. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(3), 111-121.

กานดา พูนลาภทวี. (2539). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์. 210 หน้า.

จักรกฤษณ์ หมั่นวิชา และธิดาภัทร อนุชาญ. (2559). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้ากระจูดบ้านทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 7, 23 มิถุนายน 2559. 1415-1426. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

บรรลุ ศิริพานิช. (2550). คู่มือผู้สูงอายุ : ฉบับเตรียมตัวก่อนสูงอายุ (เตรียมตัวก่อนเกษียณการงาน). กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน. 152 หน้า.

ปนัดดา ยิ้มสกุล, วิไล ตั้งจิตสมคิด, วาสนา เพิ่มพูล, นฤมล ปภัสสรานนท์ และวาสนา สังข์พุ่ม. (2564). การสร้างนวัตกรรมเสริมพลังเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเข้าสู่ยุคสังคมสูงวัยในทศวรรษหน้าโดยใช้ชุมชนและสถานศึกษาเป็นฐาน. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 7(1), 85-100.

ภัทรา สุขะสุคนธ์, สุชีลา ศักดิ์เทวิน และธัญพร ศรีดอกไม้. (2564). แนวทางการสร้างได้แก่ผู้สูงอายุด้วยผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23 (2), 73-82.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด. 233 หน้า.

วีนา หาญณรงค์, ธัชตะวัน ชนะกูล, วันทนา ทองโคตร, ลลิตา บานย๊าต และธิปทิวา เกตุทองดี. (2563). การพัฒนาต้นแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผลิตภัณฑ์กลุ่มแม่บ้านตันหยงพัฒนา ตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11, 17 กรกฎาคม 2563. 790-801. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ศิรินทร์ รอมาลี และภัสสร สังข์ศรี. (2563). การพัฒนาเว็บไซต์การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุตามแนวทางที่ทุกคนเข้าถึงได้ (WCAG) และหลักการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(2), 127-135.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดฉะเชิงเทรา. (2564). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรา 2564 : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์. 83 หน้า .

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจประชากรสูงอายุของประเทศไทย พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 193 หน้า.

ฐานันท์ ตั้งรุจิกุล และศิริอร ปุ๋ยรุก. (2559). การพัฒนาต้นแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา : www.okbatik.com.ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 7, 23 มิถุนายน 2559. 1449-1460. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อรุณี สุวรรณชาติ. (2557). การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุ ตำบลหนองแหน อำเภอ พนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

อำนาจ สุคนเขตร์. (2552). ระบบจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ Content Management System. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 20(1), 83-90.

แอนนา พายุพัด, ฐัศแก้ว ศรีสด และธัชกร วงษ์คำชัย.(2558). การพัฒนาต้นแบบเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับ OTOP 3-5 ดาว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

อัญชลี บุญอ่อน. (2553). การพัฒนาต้นแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริษัทโอซีซี จำกัด(มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29