คุณลักษณะธุรกิจสำนักงานบัญชีที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ดลพร ธนโรจโภคิน นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร
  • ธีรวัตร์ ภูระธีรานรัชต์ ผู้ชช่วยศาสตราจารย์ประจําหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร
  • อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจําหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร

คำสำคัญ:

คุณลักษณะธุรกิจ, สำนักงานบัญชี, ความจงรักภักดี

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นด้านคุณลักษณะธุรกิจสำนักงานบัญชี  และระดับความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการธุรกิจสำนักงานบัญชี  จังหวัดสุรินทร์ และ 2) เพื่อศึกษาระดับการส่งผลของคุณลักษณะธุรกิจสำนักงานบัญชีต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการธุรกิจสำนักงานบัญชี  จังหวัดสุรินทร์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้บริการในธุรกิจสำนักงานบัญชี ในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 229 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม มีความเชื่อมั่นด้านคุณลักษณะธุรกิจสำนักงานบัญชี  เท่ากับ 0.903 และด้านความจงรักภักดีของการให้บริการ เท่ากับ 0.810 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอย ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะธุรกิจสำนักงานบัญชีและความจงรักภักดีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยคุณลักษณะธุรกิจสำนักงานบัญชีด้านความไว้ใจหรือความน่าเชื่อถือ และด้านความมั่นใจมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงไป ได้แก่ ด้านสิ่งที่สามารถจับต้องได้ ด้านความใส่ใจ และด้านการสนองตอบลูกค้า ตามลำดับ  และความจงรักภักดีด้านพฤติกรรมการร้องเรียนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงไป ได้แก่ ด้านความอ่อนไหวต่อปัจจัยด้านราคา ด้านความตั้งใจที่จะอุปถัมภ์ และด้านการบอกต่อกัน ตามลำดับ และ 2) ผลการศึกษาระดับการส่งผลของคุณลักษณะธุรกิจสำนักงานบัญชีต่อความจงรักภักดีในภาพรวม พบว่า คุณลักษณะธุรกิจสำนักงานบัญชีด้านความไว้ใจหรือความน่าเชื่อถือ ด้านสิ่งที่สามารถจับต้องได้ ด้านความใส่ใจ และด้านการสนองตอบลูกค้า ส่งผลต่อความจงรักภักดีในภาพรวมในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยคุณลักษณะธุรกิจสำนักงานบัญชีทั้ง 4 ด้านดังกล่าวสามารถพยากรณ์ความจงรักภักดีได้ร้อยละ 72.3 โดยตัวพยากรณ์ที่ทำนายได้ดีที่สุด ได้แก่ ด้านการสนองตอบลูกค้า

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. 2550. จาก https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/86771 สืบค้น 13 กันยายน 2564

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). รายชื่อสำนักงานบัญชีในแต่ละจังหวัด. จากhttps://www.dbd.go.th/manual/1367 สืบค้น 13 กันยายน 2564.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

จักรพันธ์ กิตตินรรัตน์ และจุฑาทิพย์ พหลภาคย์. (2562). คุณภาพบริการกับการสร้างความภักดีของลูกค้า:องค์ประกอบในบริบทของธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 6(1), 135-151.

จันทรานามทอง และสิทธิชัย ฝรั่งทอง. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการกับความภักดีของผู้ใช้บริการบริษัท สยามกลการอุตสาหกรรมจำกัด จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 108-121.

ทองใหม่ สุรธรรม, ทตมัล แสงสว่าง และฐิตารีย์ ศิริมงคล. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(1), 214-228.

นิเทศ ทองสุกใส. (2563). ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการของสำนักงานบัญชีที่มีผลต่อความพึง พอใจและความจงรักภักดีของสถานประกอบการในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.

ปรัชญา วงศ์วารี, บุรินทร์ สันติสาสน์ และจิดาภา ถิรศิริกุล. (2566). การพัฒนาสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทยเป็นสำนักงานบัญชีดิจิทัล. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 2(2), 135–152.

พฤกษา แก้วสาร และ นพดล พันธุ์พานิช. (2563). แนวทางการให้บริการของสํานักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(ฉบับเพิ่มเติม), 239-250.

สุนันท์ เพ่งจินดา. (2565). ความเป็นมืออาชีพและคุณภาพการบริการงานสอบบัญชีที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการสำนักงานสอบบัญชี. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(46), 356-372.

Best, John W. (1977). Research in Education (3rd ed.). New Jersey : Prentice Hall.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A Multiple-item Scale for Measuring Consumer Perc. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

Shi, M., Chiang, J., & Rhee, B.-D. (2006). Price Competition with Reduced Consumer Switching Costs: The Case of "Wireless Number Portability" in the Cellular Phone Industry. Management Science, 52(1), 27-38.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). Harper and Row.

Zeithaml, V., Berry, L., & Parasuraman, A. (1996). The Behavioral Consequences of Service Quality. Journal of Marketing, 60(2), 31-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-28