ภาพลักษณ์และการสื่อสารการตลาดของคลินิกเสริมความงามต่อการทำศัลยกรรมเสริมความงาม ของวัยรุ่นจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ภัสสร สุธงษา นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กรวรรณ กฤตวรกาญจน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์, การสื่อสารการตลาด , คลินิกเสริมความงาม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research ) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์และการสื่อสารการตลาดของคลินิกเสริมความงามของวัยรุ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ใช้บริการทำศัลยกรรมเสริมความงาม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากวัยรุ่นชายและเพศหญิงอายุ 18-24 ปี ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน ใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และใช้การสัมภาษณ์แบบกลุ่มในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 20 คน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการสังเกตนำมาเรียบเรียงเป็นความเรียง

            จากการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่นนักศึกษาเพศหญิง อายุ 22 ปี มีรายได้ต่อเดือน 15,001 - 20,001 บาทขึ้นไป และมีพฤติกรรมในการใช้บริการคลินิกเสริมความงาม 1-2 ครั้งต่อเดือน และจากการศึกษาระดับความคิดเห็นพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของคลินิกเสริมความงามโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ภาพลักษณ์ด้านการบริการ มีความคิดอยู่ในระดับมาก และจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับชื่อเสียงของคลินิก อุปกรณ์ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ใช้ต้องมีความปลอดภัยและทันสมัยรวมถึงแพทย์ต้องมีประสบการณ์และความชำนาญพนักงานให้บริการด้วยความสุภาพและค่าใช้บริการต้องมีความคุ้มค่าเหมาะสมกับคุณภาพการให้บริการส่วนการสื่อสารการตลาดพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการสื่อสารตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านกิจกรรมทางการตลาดมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้ข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ จากสื่อออนไลน์ รวมถึงโปรโมชั่นต่าง ๆ ที่คลินิกทำออกมาก็มีส่วนช่วยในการตัดสินใจเลือกใช้บริการได้ง่ายขึ้น และควรจะใช้ Influencer เป็นพรีเซนเตอร์ในการโปรโมทคลินิกเสริมความงามรวมถึงสถานที่ให้บริการต้องสะอาด และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

References

ณิชชา ปะณะรักษ์. (2562). ปัจจัยด้านการสื่อสารทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(2), 137-147.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

นวภัทร ฟักคง. (2561). อิทธิพลของการรับรู้คุณค่าจากประสบการณ์การใช้บริการศัลยกรรมเสริมความงามที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า ในอำเภอเมืองเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ผู้จัดการออนไลน์. (2562). คนไทยแห่พึ่งศัลยกรรมทำสวย ติด TOP 8 ของโลก มูลค่าตลาดทะลุ 5.5 หมื่นล้านบาท [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565, จาก : https://mgronline.com/business/detail/ 9620000123207.

พรรัตน์ ชาญชวณิชย์, พอดี สุขพันธ์, และปรามศึก หวลประไพ. (2564). กลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกลับมาใช้บริการคลินิกศัลยกรรมเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(1), 61-81.

พิมพ์พลอย ธรรมโชโต และพรพรรณ ประจักษณ์เนตร. (2560). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและอิทธิพลของกลุ่มอ้างอิงต่อพฤติกรรมการทำศัลยกรรมความงามของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 3(2), 1-18.

ภาณุทัศน์ บุญบรรดารสุข. (2565). แผนธุรกิจคลินิกเสริมความงาม Hedare Clinique. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รุ่งนภา กิตติลาภ, อุมาวรรณ วาทกิจ และร่มสน นิลพงษ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการคลินิกเสริมความงามในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research, 6(1), 60-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29