ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • ธนูทอง ศิริวงศ์ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • สินีนาถ เริ่มลาวรรณ อาจารย์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด , การตัดสินใจ , เฟอร์นิเจอร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 3) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่สนใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรและไม่ทราบสัดส่วนของประชากรที่แน่นอน โดยใช้สูตรของ Cochran, W.G. (1977 : 25) ในการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ได้ 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (stratified random sampling) แบบเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ T-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

          ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้าน เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน รูปแบบที่อยู่อาศัย ที่แตกต่าง มีการตัดสินใจเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ในอำเภอเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) พฤติกรรมการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ด้าน วัตถุประสงค์ในการเลือกซื้อ ­ประเภทของเฟอร์นิเจอร์      เคยซื้อเฟอร์นิเจอร์จาก ค่าใช้จ่าย วิธีชำระเงิน บุคคลที่มีอิทธิพล แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล ที่แตกต่าง มีการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ในระดับค่อนข้างสูง โดยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ในอำเภอเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2563). สถิติการจดทะเบียนนิติบุคคลรายจังหวัด ณ เดือน สิงหาคม 2563 จังหวัดฉะเชิงเทรา. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2565, จาก : https://dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2563/H26/H26_2020.pdf

กฤษชนก ปัทมสัตยาสนธิ. (2564, 29 มีนาคม). กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด (มหาชน). สัมภาษณ์.

จิรวัฒน์ ตั้งกิจงามวงศ์. (2563, 27 เมษายน). รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด. สัมภาษณ์.

รุจิรา อัควรุ่งสกุล. (2556). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อเฟอร์นิเจอร์เพื่อการอยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชญาดา สมศักดิ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ายี่ห้ออีเกียของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชลธิชา สัจจธนสุวรรณ. (2562). การศึกษาส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีผลต่อพฤติกรรมในการซื้อสินค้าและบริการ (เฟอร์นิเจอร์และชุดเครื่องนอน) ผ่านเพจร้านค้าบนแอปพลิเคชั่น Facebook ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดอุบลราชธานีในช่วงระบาดของสถานการณ์โรคโควิด19 ในประเทศไทย. บทความวิชาการค้นคว้าอิสระ โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1-12.

ปรียา เทศนอก. (2562). คอลลิเออร์สฯชี้ตลาดคอนโดฯแบบ Leasehold ขายช้ากว่า Freehold. [ออนไลน์]. เข้าถึง ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565, จาก : https://www.prop2morrow.com/2019/05/16/คอลลิเออร์สฯชี้

ตลาดคอนโดฯแบบ-Leasehold-ขายช้ากว่า-Freehold

ลมัยพร ดงเสือ. (2561). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้สักขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลของผู้บริโภค. หลักสูตรปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต เอกวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

หทัยชนก พรหมนาค. (2555). แผนธุรกิจร้านพฤกษาพรรณ เฟอร์นิเจอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต), คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุตัมซิงห์ จาวาลา, อนันต์ สุนทราเมธากุลและอัยรดา พรเจริญ. (2564, กรกฎาคม – ธันวาคม). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการจัดการ และการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี,8(2),127-140.

อรวรรณ จารุวัฒนะถาวร. (2561). ตลาดคอนโดมิเนียมกรุงเทพมหานครปี2562. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2565, จาก : https://www.posttoday.com/property/news/574937.

สำนักงานการคลังจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2563). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรา [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ

มีนาคม 2565, จาก: http://chachoengsao.m-society.go.th/wp-content/uploads/2021/09

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3ed. New York: John Wiley and Sons Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-26