คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจก่อสร้างในจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • พวงเพ็ชร์ จุรุเทียบ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • อำภาศรี พ่อค้า อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

คุณลักษณะของผู้ประกอบการ , ความอยู่รอดของธุรกิจ

บทคัดย่อ

          วิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจก่อสร้างในจังหวัดกาฬสินธุ์ 2. ศึกษาความอยู่รอดของธุรกิจก่อสร้างในจังหวัดกาฬสินธุ์ 3. ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ประกอบการกับความอยู่รอดของธุรกิจก่อสร้างในจังหวัดกาฬสินธุ์ และ 4. ทดสอบผลกระทบของคุณลักษณะของผู้ประกอบการต่อความอยู่รอดของธุรกิจก่อสร้างในจังหวัดกาฬสินธุ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างในจังหวัดกาฬสินธุ์จำนวน 120 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างในจังหวัดกาฬสินธุ์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้าง โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความอยู่รอดของธุรกิจโดยรวมอยู่ในระดับมาก คุณลักษณะของผู้ประกอบการมีความสัมพันธ์กับความอยู่รอดของธุรกิจก่อสร้างในจังหวัดกาฬสินธุ์มากที่สุด คือ ความสามารถต่อการปรับตัวในความผันผวนของสภาพแวดล้อมทางการตลาด รองลงมาคือ ความเข้าใจศักยภาพของธุรกิจตัวเอง ความมีนวัตกรรม ความมีวิสัยทัศน์ และการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ความเข้าใจในความเป็นไปได้ของอัตราผลการตอบแทนจากการลงทุน การมีภาวะผู้นำและความสามารถในการตัดสินใจ และความเข้าใจตลาดอย่างลึกซึ้งตามลำดับ คุณลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างในจังหวัดกาฬสินธุ์ ด้านความมีวิสัยทัศน์และการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความสามารถต่อการปรับตัวในความผันผวนของสิ่งแวดล้อมการตลาดมีผลกระทบกับความอยู่รอดของธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). ข้อมูลธุรกิจก่อสร้างจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2563. กระทรวงพาณิชย์. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2564, จาก : http://:www.dbd.go.th/download.

จิราภรณ์ บุญยิ่ง. (2559). การบริหารจัดการธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด. วารสารวิจัยราชัฏพระนคร, 11(1), 136-.148.

เฉลิมชัย ฉายวิไชย. (2560). กลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของธุรกิจ จำหน่ายวัสดุก่อสร้างขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

ชลิตา บุญนภา (2559). คุณลักษณะของผู้ประกอบการและโอกาสของธุรกิจที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ฐานเศรษฐกิจ. (2564). วิกฤติเศรษฐกิจจากไวรัสโควิด19. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564, จาก : https://int.search.myway.com/web?o=1471972&l=dir&qo=serpSearchTopBox&p2=%5EY6%5Exdm007%5ES20164%5ETH&n=78399812&ln=th&q.

ณภัทร จันทะกล, จินดารัตน์ ปีมณี และ คมกริช วงศ์แข. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การบริการที่เป็นเลิศกับความสำเร็จทางการตลาดของธุรกิจสปาในประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 14 (2), 87-108.

นริศ เพ็ญโภไคย และนุจรี ภาคาสัตย์. (2561). อิทธิพลของสมรรถนะองค์กรกลยุทธ์ทางธุรกิจภาวะผู้นำและการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อการเติบโตทางธุรกิจและความอยู่รอดขององค์กรในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(2), 1 – 19.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย. 568 หน้า.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีรยาสาสน์. 228 หน้า.

ฝนทิพย์ ฆารไสว, ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ และ ไว จามรมาน. (2555). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภาคเหนือตอนล่างของไทย.วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 20-33.

มติชนออนไลน์. (2564) ธุรกิจก่อสร้าง [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2564, จาก : https://www. matichon.co.th/.

รัตติกรณ์ จงวิศาล (2556). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 529 หน้า

วนิตา บุญโฉม. (2562). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจค้าข้างทางในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 8(2), 90-102.

วรมรรณ นามวงศ์, ประภัสสร วรรณสถิต, กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ และชัยวัฒน์ ใบไม้. ( 2019). คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของเจ้าของธุรกิจค้าปลีกที่เข้าร่วมโครงการธงฟ้าประชารัฐกรณีศึกษาพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 1(1), 48–59.

วสุธิดา นักเกษม และประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการ ในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11(1), 2148 – 2167.

วาสิตา บุญสาธร. (2556). การสร้างความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนเพื่อนำประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์, 7(1), 308-354.

วิมพ์วิภา เกตุเทียน. (2556). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

วุฒิพงค์ ครอบบัวบาน และกัญญามน อินหว่าง. (2561). รูปแบบสมรรถนะและคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจเกษตรอินทรีย์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11(1), 113-126.

ศิวะนนท์ ศิวพิทักษ์. (2560). ผลกระทบของภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการในสถานประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุพจน์ มัสยมาศ และศักร์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา. (2563). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้เพื่อการส่งออก. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 20(1), 62–77.

สมบูรณ์ สุริยวงศ์, บุญมี พันธุ์ไทย, เตือนใจ เกตุษา, สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์, สมจิตรา เรืองศรี และเพ็ญศรี เศรษฐวงศ์ (2552). การวิจัยและสถิติทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สุรชัย ภัทรบรรเจิด. (2554). คุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564,

จาก : http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac =article&Id=538705672 &Ntype=124.

อัจฉรา กิ้มเถี้ยว, วาสนา สุวรรณวิจิตร และอรจันทร์ ศิริโชต (2564). การปรับตัวการทางการตลาดเพื่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกดั้งเดิม ในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช, 13(2), 160 - 170.

Aaker, D.A., Kumar, V. and Day, G.S. (2001). Marketing Research. (7th Ed). John Wiley and Son Inc : New York.

Cobanoglu, C., Werde, B. and Moreo, P. J. (2001). A Comparison of Mail, Fax and Web-based Survey Methods. International. Journal of Market Research, 43(4), 405-410.

Likert, R. N. (1970). A Technique for the Measurement of Attitude. Attitude Measurement. Chicago: Ronal McNally & Company.

Lumpkin, G.T. and Dess, G. D. (1996). Clarifying the Entrepreneurial Orientation Construct and Linking It to Performance. The Academy of Management Review, 21(1), 135-172.

Sebora, T.C., Lee, S.M., and Sukasame, N. (2009). Critical Success Factors for E-commerce Entrepreneurship : An empirical study of Thailand. Small Business Economics, 32(3), 303-316.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29