การพยากรณ์ความต้องการเพื่อวางแผนการจัดซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของบริษัทกรณีศึกษา
คำสำคัญ:
เทคนิคการพยากรณ์ , การวางแผนการจัดซื้อ, ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาวิธีการพยากรณ์ความต้องการสินค้าของกรณีศึกษาบริษัทผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และ 2. เพื่อเสนอวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการวางแผนการจัดซื้อสินค้าของกรณีศึกษา โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) การนำข้อมูลยอดขายของรายการสินค้าต่าง ๆ ของบริษัทกรณีศึกษาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวในอดีตย้อนหลัง 1 ปี ของเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 – ธันวาคม พ.ศ.2564 ผู้วิจัยเลือกศึกษาเฉพาะผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มียอดขายสูงสุด 5 อันดับแรกของบริษัท และมียอดจำหน่ายรวมเกินกันกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทกรณีศึกษามาผ่านกระบวนการวิเคราะห์ในตัวแบบพยากรณ์ด้วย 4 วิธี ดังนี้ 1) วิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2) วิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก 3) วิธีปรับให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียล และ 4) วิธีการพยากรณ์โดยใช้แนวโน้ม จากนั้น นำผลการพยากรณ์ไปเปรียบเทียบหาค่าความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ด้วยวิธี MAD, MSE และ MAPE เพื่อหาค่าความผิดพลาดจากการพยากรณ์ที่น้อยที่สุด และหาวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการวางแผนการจัดซื้อสินค้าของกรณีศึกษา ผลการวิเคราะห์พบว่า ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ละวิธีให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดต่างกัน ดังนั้น ในแต่ละชนิดผลิตภัณฑ์จึงมีตัวแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสมเฉพาะของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวแตกต่างกันไป ดังนี้ 1) เจลว่านหางโซคิว แบบกระปุก ขนาด 100 มิลลิกรัม มีความเหมาะสมกับตัวแบบการพยากรณ์ด้วยวิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่มากสุด 2) แผ่นมาส์กหน้าว่านหาง มีความเหมาะสมกับตัวแบบการพยากรณ์ด้วย วิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนักมากที่สุด 3) แผ่นมาส์กหน้ามะเขือเทศ มีความเหมาะสมกับตัวแบบการพยากรณ์ด้วย วิธีปรับให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลมากที่สุด 4) เจลว่านหางบาโรเนส แบบซอง ขนาด 100 มิลลิกรัม มีความเหมาะสมกับตัวแบบการพยากรณ์ด้วย วิธีการพยากรณ์โดยใช้แนวโน้มมากที่สุด และ 5) เจลว่านหางลาลิโอ แบบกระปุก ขนาด 300 มิลลิกรัม มีความเหมาะสมกับตัวแบบการพยากรณ์ด้วย วิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนักมากที่สุด
References
ธัญภัส เมืองปัน. (2563). การจัดการการจัดหาในโซ่อุปทาน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น. 215 หน้า.
นิภา นิรุตติกุล. (2558). การพยากรณ์การขาย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มาร์เก็ตเธียร์ออนไลน์. (2564). ตลาดความงาม: ยุคที่คนต้องใส่หน้ากาก แต่หยุดสวยไม่ได้จริงๆ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก : https://marketeeronline.co/archives/212053.
ลักขณา ฤกษ์เกษม. (2558). การพยากรณ์ความต้องการสินค้าสำหรับการวางแผนการผลิต : กรณีศึกษาการผลิตชุดสะอาด. วารสารปาริชาตมหาวิทยาลัยทักษิณ, 28(3), 290-304.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ตลาดบิวตี้ยังแจ๋ว เกาะเทรนด์ธุรกิจทำเงิน จริงๆ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2564, จาก : https://kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Beauty-Business_Trend.pdf.
สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย. (2564). เครื่องสำอางไทยฮอต คนรักสวยรักงามแห่ช้อป [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก : https://thaicosmetic.org/index.php/tcmanews/news-from-media/78-2021-05-24-04-38-48.
สาวิตรี รินวงษ์. (2564). เทรนด์ ‘บิวตี้-เฮลตี้’แรง ดันเครื่องสำอางไทยโตสวนโควิด [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2564, จาก : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/946592.
สุทธิมา ชำนาญเวช. (2556). การวิเคราะห์เชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
สุปัญญา ไขยชาญ. (2553). การวิเคราะห์เชิงปริมาณ. (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ : พี. เอ. ลีฟวิ่ง.
อนุสรณ์ บุญสง่า. (2559). การพยากรณ์ความต้องการแว่นตา กรณีศึกษา : ร้านรักแว่น. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.