ทักษะทางการเงินที่มีผลต่อการวางแผนทางการเงินของพนักงานธนาคารออมสินภาค 12
คำสำคัญ:
ทักษะทางการเงิน , การวางแผนทางการเงิน , พนักงานธนาคารออมสินภาค 12บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะทางการเงินของพนักงานธนาคารออมสินภาค 12 2) เพื่อศึกษาระดับการวางแผนทางการเงินของพนักงานธนาคารออมสินภาค 12 3) เพื่อศึกษาทักษะทางการเงินที่มีผลต่อการวางแผนทางการเงินของพนักงานธนาคารออมสินภาค 12 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานธนาคารออมสินภาค 12 จำนวน 285 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ที่มีความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.951 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง อายุ 20 - 30 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อายุงาน 5 – 10 ปี เงินเดือน 15,000 – 20,000 บาท ตำแหน่ง พนักงาน และ จังหวัดที่ปฏิบัติงานอยู่ในจังหวัด อุบลราชธานี ส่วนทักษะทางการเงินและการวางแผนทางการเงินอยู่ในระดับมาก ระดับการส่งผลของทักษะทางการเงินที่มีผลต่อการวางแผนทางการเงินของพนักงานธนาคารออมสินภาค 12 มี 3 ตัวแปร ได้แก่ความรู้ทางการเงิน พฤติกรรมทางการเงิน และ ทัศนคติทางการเงิน
ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน มากที่สุดได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เก่าและช้า และมีข้อเสนอแนะว่าอยากให้ธนาคารเปลี่ยนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใหม่ทุก 3 ปี
References
กาญจนา หงษ์ทอง. (2557). การวางแผนทางการเงิน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจ. 301 หน้า
ณฐมน เพิ่มสุข. (2562). ทักษะทางการเงินที่ส่งผลต่อความมั่งคั่งทางการเงินของกลุ่มวิชาชีพครูในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ปานแก้วตา ลัคนาวานิช และวิลาวัณย์ ดึงไตรย์ภพ. (2561). ทักษะทางการเงินของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองในเขตลุ่มน้ำปากพนัง. WMS Journal of Management Walailak University, 7(พิเศษ), 111-129.
พิทักษ์ ศิริวงค์. (2560). การให้ความหมายที่มาของความหมายและการวางแผนการออมเพื่อรองรับการเกษียณอายุของพนักงานเอกชน เขตสีลม-สาทร กรุงเทพมหานคร. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมวิทยาและการศึกษา, 4 (1), 1211-1220.
พรพระพรหม ธรรมนิตยกุล. (2561). การพัฒนาตัวแบบในการจัดการการเงินส่วนบุคคลของข้าราชการ กองทัพเรือไทย. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 4(2) , 98-119.
พิชามญชุ์ ศรีสุวรรณ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารการเงินกับพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6, 29-31 สิงหาคม 2561. 341 – 352. สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
วิกรานต์ เผือกมงคล. (2560). ความรู้ทางการเงินของประชาชนจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 120-121.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารตลาดยุคใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพ : พัฒนาศึกษา. 275 หน้า.
เสาวนีย์ บุญเฉลิม. (2554). การวางแผนทางการเงินเพื่อเตรียมการเกษียณอายุสำหรับข้าราชการ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธนาคารออมสิน. (2564). หน่วยแผนภาค 12 ธนาคารออมสิน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564, จาก : Http://www.gsb.or.th
Hallman and Rosenbloom. (2000). Personal financial management. (3 Ed). New Jersey, United States. 645 pages.
OECD. (2015). “2015 OECD/INFE Toolkit for Measuring Financial Literacy and Financial Inclusion. Organisation for Economic Co-operation and Development, France.” [Online]. Available : https://www.oecd.org/daf/fin/financialeducation/2015_OECD_INFE_Toolkit_Measuring_Financial _Literacy.pdf retrieved. 2019, October 1