การศึกษาความพร้อมของระบบโลจิสติกส์สินค้าและบริการ การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณจุดผ่านแดนช่องจอม จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ลลนา สุขพิศาล สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ภัทรารัตน์ ชิดชอบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การค้าชายแดน , ระบบโลจิสติกส์สินค้าและบริการ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคของระบบโลจิสติกส์สินค้าและบริการการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ 2. ศึกษาศักยภาพความพรอมของระบบโลจิสติกสสินค้าและบริการการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ และ 3. จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการโลจิสติกส์การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ โดยมีการเก็บรวบรวมจาก ผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าและบริการ ในด้านการค้าและบริการหรือผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ในพื้นที่ของการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณจุดผ่านแดนช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 254 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ใช้การวิเคราะห์สถิติขั้นพื้นฐานด้วยค่าความถี่ และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่าการบริหารจัดการสินค้าและบริการ การค้าชายแดนไทย–กัมพูชา ส่วนใหญ่ใช้กลยุทธ์การลดราคา กลยุทธ์ออนไลน์ ส่วนใหญ่เป็นการขายสินค้าแบบปลีก การจัดเก็บสินค้าในร้านเพื่อจำหน่าย การศึกษาศักยภาพความพร้อมระบบโลจิสติกส์สินค้าและบริการ การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ โครงสร้างพื้นฐาน ผู้ให้บริการ ผู้รับส่งสินค้า และนโยบาย ทั้ง 4 ด้าน ยังไม่มีความพร้อม ต้องปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาและนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อให้มีความพร้อมในการเป็นตลาดที่มีมาตรฐาน เป็นที่ท่องเที่ยว รองรับการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต

References

กรมการค้าต่างประเทศ. (2562). สถิติการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนไทยของประเทศไทย ปี 2560-2562 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564, จาก : https://www.dft.go.th/bts/trade-report

กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน. (2563). คำนิยามที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดนไทย [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2564, จาก : https://www.dft.go.th/bts/bts-trader

กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ. (2562) . สถิติการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนของประเทศไทยปี 2560–2562 (มกราคม-เมษายน) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2564, จาก : https://www.dft.go.th/Portals/3/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%20%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%20%E0%B9%80%E0%B8%A1.%E0%B8%A2%2062.pdf

ณัฏฐ์ธนิน เอื้อศิลป์ และยุทธภูมิ ขุลาหล้า. (2561). การศึกษาสถานการณ์การค้าของผู้ประกอบการบริเวณด่านช่องจอม จังหวัดสุรินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(1), 19-27.

เทพรักษ์ สุริฝ่ายและลำปาง แม่นมาตย์. (2561). บทบาทการค้าชายแดนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษา จังหวัดหนองคาย จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร. วารสารการเมืองเมืองการปกครอง, 8(1), 153 - 176.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี. 445 หน้า.

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2562). การค้าชายแดน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.gsbresearch.or.th/gsb/published-works/6713/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29