ความแตกต่างของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ในการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม เพื่อการลดหย่อนภาษีจำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์
คำสำคัญ:
ประชากรศาสตร์, ส่วนประสมทางการตลาด (7Ps), กองทุนรวมประเภทกองทุนลดหย่อนภาษีบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปริมาณในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลดหย่อนภาษี ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รูปแบบรายได้หลักของอาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 2. เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ของผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลดหย่อนภาษี และ 3. เพื่อศึกษาความแตกต่างของส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลดหย่อนภาษี โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้มีเงินได้ประจำ ต้องเสียภาษีเงินได้ และเคยลงทุนในกองทุนรวมประเภทกองทุนลดหย่อนภาษี จำนวน 385 คน สุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่าลักษณะประชากรศาสตร์ต่อการตัดสินใจลงทุนทางด้านเพศที่แตกต่างกัน จะมีการตัดสินใจในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่แตกต่างกันในปัจจัยด้านราคา อายุที่แตกต่างกัน จะมีการตัดสินใจในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่แตกต่างกันในทุกปัจจัย สถานภาพสมรสที่แตกต่างกัน จะมีการตัดสินใจในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่แตกต่างกัน 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านราคาและปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน จะมีการตัดสินใจในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่แตกต่างกัน ทั้งหมด 6 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้าน การส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านบุคคลหรือพนักงาน ปัจจัยด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ และปัจจัยด้านกระบวนการ รูปแบบรายได้หลักของอาชีพที่แตกต่างกัน จะมีการตัดสินใจในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่แตกต่างกัน 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน จะมีการตัดสินใจในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่แตกต่างกัน ทั้งหมด 6 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านบุคคลหรือพนักงาน ปัจจัยด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ และปัจจัยด้านกระบวนการ
References
กรรณิการ์ ชัยอำนาจ และกฤษฎา มูฮัมหมัด. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางแอพพลิเคชั่น SHOPEE ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 15, 13 สิงหาคม 2563. 955 - 969. ปทุมธานี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กุลธนิดา วริทธนันท์ และรัติกาล เชื่อนเพ็ชร. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ของประชากรวัยทำงานในเขตภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชวกร อมรนิมิต. (2559). การศึกษาการทำการตลาดตามรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้ธุรกิจเดลิเวอรี่อาหารแบบบริการถึงบ้านของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ทศวรรณ จันทร์สาย. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม RMF และ LTF กับ บลจ.บัวหลวง: กรณีศึกษาลูกค้าที่ลงทุนผ่านธนาคารกรุงเทพในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเนชัน.
ธนกฤต วงศ์มหาเศรษฐ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน Facebook Live ของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 27(2), 42-56.
ปนัดดา ภู่หอม. (2561). ภาวการณ์ออมของไทย [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2564, จาก : https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2018/11/15MC_hotissue_Saving_OCT18_internet_detail.pdf.
ศศิกานต์ พรดุสิต และธนิดา จิตร์น้อมรัตน์. (2562). ปัจจัยที่มีีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมประเภทกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขานนทบุรี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 8(2), 418-428.
สุธิชา แก้วเกตุ และลลิตา นิพิฐประศาสน์ สุนทรวิภาต. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เขตภาคกลาง. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 6(1), 107-117.
สุรัสวดี มนตรีภักดิ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ของนักลงทุน Generation Y ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรีรัตน์ อุ่นกระสัง. (2563). การศึกษาการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม SSF ของนักลงทุนรายย่อยในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อรรถเดช เทพชัยธนะวงศ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกลงทุนในหน่วยลงทุนประเภทกองทุนต่างประเทศของกลุ่มคนทำงานในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.) New York : John Wiley and Sons.
Likert, R. (1970). New Partterns of Management. New York : McGraw-Hill.
Yang, M. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ของพนักงานบริษัทเอกชน ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.