การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ข้าวเหนียวโพนงาม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ราชินีข้าวเหนียว ตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อรรณพ ต.ศรีวงษ์ อาจารย์ประจำสาขาการจัดการการค้า ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การพัฒนา , บรรจุภัณฑ์ , ข้าวเหนียวโพนงาม

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวเหนียวโพนงามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ราชินีข้าวเหนียว ตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจบรรจุภัณฑ์ข้าวเหนียวโพนงามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ราชินีข้าวเหนียว ตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชน จำนวน 10 คน และกลุ่มผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวโพนงาม จำนวน 50 คน รวม 60 คน การเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า บรรจุภัณฑ์ข้าวเหนียวโพนงาม เป็นกล่องทึบมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม สามารถบรรจุผลิตภัณฑ์ได้ 1 กิโลกรัม  มีตราสินค้าและป้ายฉลากแสดงรายละเอียดต่างๆ ผลการศึกษา ความพึงพอใจบรรจุภัณฑ์ข้าวเหนียวโพนงาม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ราชินีข้าวเหนียว ตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี พบว่า ด้านโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยลูกค้าให้ความสำคัญกับสามารถหยิบจับได้สะดวก ด้านการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยลูกค้าให้ความสำคัญกับรูปภาพ ลวดลายที่ตกแต่ง มีความเหมาะสม

References

ชัยวัฒน์ สร้อยเจริญสุข (2565). แนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรมข้าว. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2565, จาก : https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/agriculture/rice/io/io-rice-2022

ปัทมาพร ท่อชู. (2552). การทำความเข้าใจการออกแบบการบรรจุภัณฑ์. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2565, จาก : http://thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=732&section=37&issues=28

มยุรี ภาคลำเจียก. (2556). บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์หยี่เฮง. 147 หน้า.

มัทธนี ปราโมทย์เมือง, ธานี สุคนธะชาติ และชูเกียรติ อนันต์เวทยานนท์. (2558). การศึกษาและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการขายและแสดงเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นกรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ขนมกะหรี่พั๊ฟ จังหวัดสระบุรี. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สุมาลี ทองรุ่งโรจน์. (2555). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 157 หน้า.

ไสยเพ็ญ เฉิดเจิม, ภูพิชย์ ทานะ และแสงเดือน ธรรมวัตร. (2564). การออกแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอรี่.วารสารวิชาการ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 6(1), 28-35.

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี (2564). สภาพเศรษกิจ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 11 มกราคม 2565, จาก : http://www.nonghan.go.th/data.php?content_id=3.

อโรชา เทพรักษ์และปฏิญญาณ์ แสงอรุณ.(2561). การออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ข้าวสารไทยโดยนำเสนอภาพลักษณ์ของชาวนาไทย.ใน การประชุมวิชาการสำหรับนักศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2, 7 มิถุนายน 2562. 246-253. กรุงเทพมหานคร : คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Creswell, J. W. and Plano Clark, V. L. (2007). Designing and Conducting Mixed Methods Research. Thousand Oaks, CA: Sage.

Simms, C. and Trott, P. (2014). Conceptualizing the Management of Packaging Within New Product

Development : A Grounded Investigation in the UK Fast Moving Consumer Goods Industry. [Online]. Retrieved 4 November 2022, Available : https://www.emerald.com /insight/content/doi/10.1108/EJM-12-2012-0733/full/html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29