ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ ธนบูรณ์วาณิช นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • พรรณทิพย์ อย่างกลั่น ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี, ผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของนักบัญชีในเขตภาคตะวันออก เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออก จำนวน 372 คน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) เพื่อทดสอบสมมติฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุ 26 – 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ตำแหน่งงานผู้ทำบัญชีเป็นลักษณะธุรกิจการให้บริการ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านความรู้ ความเข้าใจในวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ โดยรวมอยู่ในระดับมากและปัจจัยด้านเทคโนโลยี โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ด้านความเที่ยงธรรมและความเป็นอิสระ ด้านการรักษาความลับ ด้านความรู้ ความเอาใจใส่และการรักษามาตรฐานในการปฏิบัติงาน ด้านความโปร่งใส ด้านความซื่อสัตย์สุจริตและด้านพฤติกรรมทางวิชาชีพของนักบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

กนกมณี หอมแก้ว สุนิษา ภู่สงค์ และวรงรอง ศรีศิริรุ่ง. (2559). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานบัญชีของนักบัญชีไทย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 01 พฤษภาคม 2565, จาก : https://research.bkkthon.ac.th/abstac/ab_14102558133156.pdf.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์. (2565). สถิติการจดทะเบียนนิติบุคคลคงอยู่ใน ประเทศไทย [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2565, จาก : http://datawarehouse.dbd.go.th/bdw/menu/est/1.html.

ฉัตรอมร แย้มเจริญ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีและประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชี : กรณีศึกษา นักบัญชีในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(1), 55-66.

ฐิติรัตน์ มีมาก รติกร บุญสวาท และชุติมา ขลิบทอง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณและทักษะทางวิชาชีพกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีจังหวัดนครราชสีมา.ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7, 23 มิถุนายน 2559. 653 – 664. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ธารินี ทองลิ่ม. (2558). ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านการพัฒนาที่สัมพันธ์กับการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร

นุชจนีย์ ดีจิต. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณของนักบัญชีในเขตภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาศรีปทุม

ศิริกาญจน์ วงษ์เสรี และสุรีย์ โบษกรณัฏ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีสถาบันการเงินเฉพาะกิจ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3), 259 – 282

ศิริขวัญ ผลวิจิตร. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินการบัญชี หน่วยงานราชการ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สรชัย พิศาลบุตร (2555). สถิติธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ. 361 หน้า.

AMTaudit. (ม.ป.ป.). จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี สำคัญอย่างไร [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 01 พฤษภาคม 2565, จาก : https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-28