การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออร์แกนิค

ผู้แต่ง

  • สุณิสา บุญรอด นิสิตปริญญาโท โครงการปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ ภาคค่ำ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ทรงพร หาญสันติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออร์แกนิค, การสื่อสารการตลาด, กระบวนการตัดสินใจซื้อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออร์แกนิค และ 2. เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออร์แกนิค โดยผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เคยซื้อ และ/หรือเคยใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออร์แกนิค จำนวน 385 คน และใช้วิธีสุ่มตัวอย่างโดยการจัดเก็บแบบสะดวก (Convenience Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t test, One-way ANOVA: F-Test และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

            ผลการศึกษาพบว่า 1. ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออร์แกนิค 2. การสื่อสารการตลาด ได้แก่ การโฆษณา การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ การขายโดยใช้พนักงาน การส่งเสริมการขาย และการตลาดทางตรง ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออร์แกนิค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กมลชาติ โตสาลี. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางจากประเทศเกาหลีของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 3(1), 51-64.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์ชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.

จุฑารัตน์ ทองสนิท, ชนิกานต์ หวั่งประดิษฐ์, ลักษมณ อนันตประยูร, สุมาลี พิมเขียว, ทาริกา สระทองคำ และศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าออร์แกนิกของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 3(2), 9-19.

ฐานิสร ไกรกังวาร และธรรมวิมา สุขเสริม. (2561). การตัดสินใจซื้อครีมกันแดดทาผิวกายของลูกค้าในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 9(3), 202-212.

ณิชารีย์ โสภา. (2564). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า แบรนด์ HAPPY SUNDAY. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นุจรี คติรักสิทธิ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัทรนาฏ จันทรรัตน์. (2562). อิทธิพลของผู้นำทางความคิดกับกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ บำรุงผิวหน้า (Facial Skincare) ของผู้บริโภคกลุ่มวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภัสส์ธีมา วิกรัยชยากรู. (2559). ค่านิยม การรับรู้ด้านคุณค่าผลิตภัณฑ์ การรับรู้ความเสี่ยง และการสื่อสารทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อการออกกำลังกายของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรสาคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภาวิณี กาญจนาภา. (2554). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: ท็อป.

ลลิดา เกษมวงศ์. (2563). การสื่อสารกาตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวญี่ปุ่นของผู้บริโภคเพศหญิงในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

วรัชญา ธนูศิลป์ และสุมาลี สว่าง. (2564). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เวชสาอางยูเซอรินของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 16, 19 สิงหาคม 2564. 739-753. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

วรกรณ์ กิ่งมั่น. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดบนสื่อออนไลน์ของผู้พักอาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ตลาดออร์แกนิค ธุรกิจสร้างเงิน SME ไทย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2564, จาก : https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/ksmeknowledge/article/ksmeanalysis/pages/thai-sme_organic-product.aspx.

ศิริลักษณ์ ชูจิตร. (2559). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของ บริษัท คาร์มาร์ท จำกัด (มหาชน) ในร้านบิวเทรี่ยม สาขาสยามสแควร์. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3rd Ed). New York : John Wiley and Sons Inc.

Duralia, O. (2018). Integrated Marketing Communication and Its Impact on Consumer Behavior. Studies in Business and Economics, 13(2), 92-102.

Kim, H. Y. and Chung,J. (2011). Consumer purchase intention for organic personal care products. Journal of Consumer Marketing, 28(1), 40-47.

Kotler, P. and Keller, K. L. (2014). Marketing Management. (15th Ed). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Likert, R. (1970). New Partterns of Management. New York : McGraw-Hill.

Mombeini.H., Sha'abani, R. and Ghorbani, G. (2015). Survey the Effective Factor on Attitude & Purchase Intention of Organic Skin and Hair Care Products. International Journal of Scientific Management and Development, (3)1, 819-826

The Matter. (2560). สวยกันไปยาว ๆ ด้วยเครื่องสำอางออร์แกนิก. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564, จาก : https://thematter.co/brandedcontent/all-about-you/39622.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-07