การวิเคราะห์และพัฒนาระบบโลจิสติกส์การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน

ผู้แต่ง

  • นัฐิพงษ์ จัดจ้าง อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์โลจิสติกส์, การวิเคราะห์ SWOT, การพัฒนาเขตค้าชายแดนไทย-กัมพูชา

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการวิเคราะห์และพัฒนาระบบโลจิสติกส์การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางและการพัฒนาพื้นที่ในภาพรวมของการค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชา ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับปริมาณความต้องการและสามารถตอบสนองต่อรูปแบบแนวทางการพัฒนาศักยภาพความสามารถของระบบโลจิสติกส์ในอนาคต

            จากการนำข้อมูลแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์สถานการณ์ด้วย SWOT analysis ผู้วิจัยจะใช้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาและการวางแผนโดยมุ่งเน้นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดจุดอ่อนลงให้ได้มากที่สุด โดยจัดลำดับความสำคัญของกลยุทธ์ จากการวิจัยพบว่า ความสำคัญลำดับแรกคือเพิ่มศักยภาพการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ความสำคัญรองลงมา คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและการเดินทาง ผลการวิเคราะห์ตัวแบบเพชรซึ่งเกิดจากการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิและแบบสอบถาม ในส่วนการวิเคราะห์เงื่อนไขด้านอุปสงค์ พบว่าปัจจุบันสินค้ายังได้รับความนิยมจากประเทศเพื่อนบ้าน การส่งออกเกิดการชลอตัวเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เงื่อนไขด้านการผลิต สินค้าที่มีความหลากหลายและยังได้รับความนิยม เงื่อนไขด้านยุทธศาสตร์ ยังมีการส่งออกสินค้าการเกษตรอย่างปกติ เงื่อนไขด้านอุตสาหกรรม มีการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานของรัฐทั้งภายในไทยและกัมพูชา รัฐบาลสนับสนุนให้จังหวัดสุรินทร์มีการพัฒนาตลาดช่องจอมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญจังหวัด มีหน่วยงานเข้ามาจัดระเบียบพื้นที่การค้าชายแดนแต่ยังไม่สามารถพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ได้ตามพื้นฐานกับสิ่งที่พึงมีได้

References

ผู้จัดการออนไลน์. (2564). การค้า-อุตสาหกรรม-คมนาคม. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2564, จาก : https://mgr online.com/ business/ detail/9640000073806.

กรมการค้าต่างประเทศ. (2564). สถิติมูลค่าการค้าชายแดนไทย - กัมพูชา (รายด่าน) ปี 2562 - 2564 (มกราคม - สิงหาคม). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2564, จาก : https:// www.dft.go.th/bts/trade-report.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี. 445 หน้า.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 168 หน้า.

นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. (2545). SWOT การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 6) อุบลราชธานี : ฝ่ายผลิตและบริการเอกสาร สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 101 หน้า.

พรชัย ศักดิ์สกุลพรชัย. (2554). การประเมินสภาพเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไทยเปรียบเทียบคู่แข่งในอาเซียน. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรินทร์ อรรคศรีวร และยุทธนา พรรคอนันต์. (2559). การศึกษาแนวทางการพัฒนาตลาดการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษาตลาดการค้าชายแดนจังหวัดจันทบุรี. รายงานฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

มณีรัตน์ การรักษ์. (2558). การพัฒนาตลาดการค้าชายแดนไทย-กัมพูชากรณีศึกษาตลาดการค้าชายแดนช่องจอม จังหวัดสุรินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(1), 35-43.

ณัฏฐ์ธนิน เอื้อศิลป์ และยุทธภูมิ ขุลาหล้า. (2561). การศึกษาสถานการณ์การค้าของผู้ประกอบการบริเวณด่าน ช่องจอม จังหวัดสุรินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(1), 19-27.

บุคลานุกรม

ผู้ประกอบการค้า ก (ผู้ให้สัมภาษณ์). นัฐิพงษ์ จัดจ้าง (ผู้สัมภาษณ์). ที่ ตลาดการค้าชายแดนช่องจอม หมู่ 14 ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ 32210. เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-25