การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวาย ในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, ธุรกิจเครื่องสำอาง, กระบวนการตัดสินใจซื้อบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และพฤติกรรมการใช้บริการที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร 2. ศึกษาความแตกต่างของพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความสัมพันธ์ต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร และ 3. ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุอยู่ในเจเนอเรชั่นวาย ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30,000 บาท นอกจากนั้นในภาพรวม ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4C) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวาย อยู่ในระดับมากที่สุด ต่อมาการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวาย อยู่ในระดับมาก และพฤติกรรมการใช้บริการของผู้บริโภค นั้นส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานครที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุโดยใช้เทคนิควิธีนำเข้าในภาพรวมปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4C) และการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานคร ร่วมกันมีความสัมพันธ์ทางบวกกับกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานคร ด้านที่มากที่สุด คือ ด้านขั้นตอนการตัดสินใจซื้อ เท่ากับ .676 ได้ถึงร้อยละ 45.8
References
ฑัตษภร ศรีสุข. (2557). การศึกษาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยภายใต้กรอบอาเซียน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(2), 267-284.
ณัฐพล เมืองธรรม. (2563). Insight ทุก Generation 2021 ตั้งแต่ Baby Boomer, Gen X, Gen Y, Gen Z ถึง Alpha. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2564, จาก : https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/insight-all-generation-2021-baby-boomer-gen-x-gen-y-gen-z-alpha-from-tcdc-report/.
นันท์ธนัษฐ์ ธรรมเชื้อ. (2565). ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback), การรับรู้ความยุติธรรมด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความเครียดจากการประเมินผลการปฏิบัติงาน ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานเจนเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยมหิดล.
โกสินทร์ แก่นบุตร และนพดล โตวิชัยกุล. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4C’s ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อทองรูปพรรณ ของผู้ประกอบการและพนักงานในตลาดนัดจตุจักรวิจัยก้าวใหม่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ม.อ.ตรัง วิจัยครั้งที่ 8 ประจำปี 2562, 29 มีนาคม 2562. 365-373. ตรัง : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง.
เพชรรัตน์ อนันต์เศรษฐการ. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสกินแคร์ผ่านสังคมออนไลน์ (Instagram) ของคนรุ่นใหม่กลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย ในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 9(1), 413-428.
ภรัณยา ฆารสินธุ์. (2560). การจำแนกความแตกต่างระหว่างกลุ่ม Gen-Y และกลุ่ม Gen-Z ใช้ความต้องการส่วนประสมการค้าปลีกธุรกิจร้านอีฟแอนบอยในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
มันตาภรณ์ อนะวัชพงษ์. (2559). พฤติกรรมการเลือกซื้อและทัศนคติต่อรูปแบบบรรณจุภัณฑ์เครื่องสำอางประเภทดูแลผิวของผู้บริโภคเพศชายสมัยใหม่รุ่นเจเนอเรชั่นวาย. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ลักษมี พันธุ์ธนโสภณ. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้า. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 21(1), 1-11.
ศิริเพ็ญ เล่าลือเกียรติ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่าง กลยุทธ์ทางการตลาด 4C's กับกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์ยูนิโคล่ของคน Gen-Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Lamb, C.W., Hair, J.F. and McDaniel, C. (2017). MKTG. (11th Ed.). Boston, Cengage Learning. 432 pages.
Solomon, M. R. (2017). Consumer Behavior: Buying, Having, and Being. (12th Ed.). Boston, Pearson. 621 pages.