ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบวิถีปกติใหม่ (New Normal) ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

ผู้แต่ง

  • วิญญู กันคำแหง นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด
  • เอก ชุณหชัชราชัย ผู้ช่วยศาตราจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการท่องเที่ยว, วิถีปกติใหม่, โควิด-19

บทคัดย่อ

            งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบวิถีปกติใหม่ (New Normal) ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 2) ปัจจัยผลักดันการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 3) พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบวิถีปกติใหม่ (New Normal) ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบวิถีปกติใหม่ (New Normal) ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 อยู่ในระดับมาก (x̄=3.596, S.D.=0.921) 2) ปัจจัยผลักดันการท่องเที่ยว อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.324, S.D.=0.443) 3) พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.074, S.D.=0.600) และ 4) ปัจจัยผลักดันการท่องเที่ยวทั้ง 3 ปัจจัย ประกอบด้วย ด้านนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว ด้านมาตรการการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 และด้านทัศนคติต่อการระบาดโควิด-19 มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบวิถีปกติใหม่ (New Normal) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และพบว่า ปัจจัยพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย ทั้ง 3 ปัจจัยประกอบด้วย ด้านค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ด้านการเดินทาง และด้านสภาพแวดล้อม มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบวิถีปกติใหม่ (New Normal) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

ชนิสรา กุลสันติวงศ์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย Generation Y หลังโรคระบาดโควิด-19. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33-48.

ดุษณี เกลียวปฏินนท์. (2564). เทคนิครับมือความเครียด อยู่บ้านก็คลายเครียดได้ ฉบับปรับให้เข้ากับยุคโควิด 19. ค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2564, จาก : https://www.praram9.com/covid19-stresss-syndrome.

นนทินี มีทรัพย์ทวีกูล. (2564). กระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมระดับ 3 ดาวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตเมืองพัทยา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นฤพร สุขเกษม. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกจองที่พักแรมในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บริสุทธิ์ แสนคำ. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยหลังสถานการณ์โควิด-19. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(1), 160-167.

ปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี, นฤชล ธนจิตชัย และเทพรัตน์ เอื้อธรรมถาวร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(1), 39-48.

พัชรียา แก้วชู. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบ New Normal หลังการแพร่ระบาดโควิด-19. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2564). เปิดวิจัยผลกระทบ “โควิด” กับทิศทาง “ท่องเที่ยว” ในอนาคต.[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565, จาก : https://www.prachachat.net/tourism/news-659616.

ไตรศุลี ไตรสรณกุล. (2564). การท่องเที่ยวหลัง COVID-19. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.

รุจาพงศ์ สุขบท. (2564). โควิด-19 กับพฤติกรรม “New Normal” มาตรฐานวิถีชีวิตใหม่. นนทบุรี: กรมอนามัย กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

วิศนี รัตนอร่ามสวัสดิ์. (2564). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อมาตรการป้องกันโรคระบาด (COVID-19) ณ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ จังหวัดตรัง. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565, จาก : http://nrei.rmutsv.ac.th/th/content/348-1434612630-245-180615.

ศฐิฒฎา ธารารตันสุวรรณ. (2563). ผลกระทบเชื้อไวรัส COVID-19 ต่อวิกฤตการท่องเที่ยวของไทย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 8 เมษายน 2565, จาก : https://www.senate.go.th/document/Ext24365/24365130_0002.PDF

ศาสตรา สุดสวาสดิ์, ณัฐวุฒิ ลักษณาปัญญากุล และทวีชัย เจริญเศรษฐศิลป์ .(2562). วิเคราะห์สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำและการท่องเที่ยวในประเทศไทย.รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ภายใต้แผนงานวิจัยยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อการกระจายได้ที่ดีและยกระดับประเทศออกจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตรกรรม (สกสว.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-04