ศักยภาพในการรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • หิรัญญา กลางนุรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและบริการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • เกิดศิริ เจริญวิศาล อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว โรงแรม และอีเวนต์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, ศักยภาพในการรองรับ, จังหวัดภูเก็ต

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดภูเก็ต โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยองค์ประกอบการท่องเที่ยว 5A ใช้กรอบการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกผ่าน PEST Analysis และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในจังหวัดโดยใช้ Functional Analysis ซึ่งสะท้อนถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดภูเก็ต พบว่า จากการวิเคราะห์องค์ประกอบการท่องเที่ยว 5A ของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดภูเก็ต มีด้านที่พัก (accommodation) และด้านกิจกรรม (activity) เป็นจุดแข็งของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกมีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเติบโตของการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพที่เห็นได้ชัดเจน คือ การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น วิถีชีวิตและพฤติกรรมของผู้ที่สร้างความเครียดในสังคม ความเหนื่อยล้า ส่วนปัจจัยภายในที่มีความได้เปรียบคือด้านการเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในระดับโลกสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาได้ เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สวยงามและอาหารขึ้นชื่อระดับโลก สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ใส่ใจสุขภาพเลือกมาท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต เพราะนักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์จากการท่องเที่ยวที่หลากหลาย มากกว่าการเดินทางเพื่อมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพียงอย่างเดียว และปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาอัตลักษณ์ของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของภูเก็ต คือ กำหนดทิศทางการเชื่อมโยงและบูรณาการระหว่างการบริการเชิงการแพทย์และการส่งเสริมสุขภาพของภูเก็ตที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2562). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (MEDICAL HUB) (พ.ศ. 2560-2569). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565, จาก : https://www.thailandmedicalhub.net.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2558). กรม สบส.ขับเคลื่อนนโยบาย Medical Hub ไร้รอยต่อมุ่งสู่เมืองแห่งสุขภาวะ ชูความเป็นเลิศด้านบริการสุขภาพ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2565, จาก : https://www.thailandmedicalhub.net:8443 /display_news.jsp?id=N00000002198.

ณารีญา วีระกิจ, ชัยนันต์ ไชยเสน, พุทธพร อักษรไพโรจน์ และศศิธร สนเปี่ยม.(2562). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของจังหวัดภูเก็ตเพื่อยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางนานาชาติการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ.วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 15(2), 35- 57.

วารีพร ชูศรี และวรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล. (2563). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ : ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 205-226.

Aguilar, F. J. (1967). Scanning the business environment. New York: Macmillan. 239 pages.

C9 Hotel Works. (2016). Thai Hotel Management Company Overview. [Online]. Retrieved February 28, 2022, Available : http://www.c9hotelworks.com/downloads/thai-hotel-management-company-overview-2016-10.pdf.

Csapo, J. and Marton, G. (2017). The Role and Importance of Spa and Wellness Tourism in Hungary’s Tourism Industry. Czech Journal of Tourism, 6(1); 55-68.

Dickman, C.R. (1996). Overview of the Impacts of Feral Cats on Australian Native Fauna. Canberra : Australian Nature Conservation Agency.

Francis, J. A. (1967). Bright hup PM project management. New Jersey: prentice–Hall.

Global Wellness Institute. (2014). The Global Wellness Tourism Economy 2013. [Online]. Retrieved February 28, 2022, Available : http://www.globalwellnesssummit.com.

Huang, Y. I. (2012). Forecasting the Demand for Health Tourism in Asian Countries Using a GM(1,1)-Alpha Model. Tourism and Hospitality Management, 18(2), 171-181.

Karnjanakit, S. (2014). Recreation and Tourism Industry. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Kieanwatana, K. (2018). Situations and Trends of World and Thailand Health Tourism. Journal of Cultural Approach, 19(35), 77-87.

Sookmark, S. (2011). An Analysis of International Tourism Demand in Thailand. Doctor of Philosophy. National Institute of Development Administration.

Hanthong, S. (2000). Tourism Management Potential in Phatthalung Province. Master of Arts. National Institute of Development Administration.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28