การจัดการตลาดท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของหมู่บ้านทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สุรีรัตน์ เครือบคนโท นักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ อาจารย์ที่ปรึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การจัดการตลาด, การตลาดท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์, หมู่บ้านทอผ้า

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1. เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของหมู่บ้านทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของหมู่บ้านทอผ้า ในจังหวัดบุรีรัมย์ 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดเชิงประสบการณ์ในหมู่บ้านทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์ และ 4. เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการตลาดเชิงประสบการณ์ในหมู่บ้านทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์ เแบบผสมผสาน ทั้งวิธีการเชิงปริมาณ และวิธีการเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชากรชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ชนิด 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ F-test

            ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของหมู่บ้านทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านแหล่งท่องเที่ยว ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว และด้านการมีส่วนร่วม นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของหมู่บ้านทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ ส่วนใหญ่มีแหล่งข้อมูลที่ได้รับคำแนะนำมาเที่ยวจากอินเตอร์เน็ต เดินทางร่วมกับครอบครัว วัตถุประสงค์เพื่อท่องเที่ยวและพักผ่อน ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวที่มีเพศ อาชีพ รายได้และภูมิลำเนาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนนักท่องเที่ยวที่มีอายุและการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักท่องเที่ยวที่มีเพศ อาชีพ และรายได้ ต่างกันมีความคิดเห็นต่อส่วนผสมทางการตลาดของการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของหมู่บ้านทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์ คือ ควรให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในกิจกรรมการทอผ้า กิจกรรมวัฒนธรรมท้องถิ่น และพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

References

กรวรรณ สังขกร. (2554). การพัฒนาเมืองชายแดน : เพื่อรองรับผลกระทบจากการท่องเที่ยวและการค้าในลุ่มน้ำโขง. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 221 หน้า.

กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศฯ สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์. (2564). กิจกรรมพัฒนาและยกระดับมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ OTOP 64. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก : http://www.buriram.go.th/web3/.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). การท่องเที่ยวหรืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก : https://tatreviewmagazine.com/article/community-based-tourism/.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์, จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด และอังสุมาลิน จำนงชอบ (2563). การศึกษาศักยภาพและผลกระทบของธุรกิจการให้เช่าที่พักระยะสั้นเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4 (3), 27-56.

ณรงค์ พลีรักษ์ และปริญญา นาคปฐม. (2560). การศึกษาโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. นนทบุรี : เฟริ์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 351 หน้า.

ปิ่นฤทัย คงทอง และ สุวารี นามวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 12(2), 1-32.

มนรัตน์ ใจเอื้อ, พนิต กุลศิริ, ธนภูมิ อติเวทิน และวรินทรา ศิริสุทธิกุล. (2559). รูปแบบการตลาดเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม : ชุมชนบางหลวง ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 12(3), 12-24.

ฑัตษภร ศรีสุข, อดิศักดิ์ จำปาทอง และชรัสนันท์ ตำชม. (2561). แนวทางการพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยวและห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีน่านแบบบูรณาการ. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(2), 313-330.

Davar, C. (2010). Experiential Tourism and the Cyprus Hotel Experience: A Canadian Perspective, with Suggestions, Ideas, and Opportunities. [Online]. Retrieved on August 10, 2021, from : https://ideasinteligentesblog.files.wordpress.com/2012/11/experiential-tourism-and-the-hotel.pdf.

Jennings, G., and Nickerson, N. P. (2005). Quality tourism experiences. London : Routledge. 280 pages.

Karwacki, J. (2011). Haven’t been there, done that : How Experiential Tourism is Transforming the Travel Experience. [Online]. Retrieved on August 10, 2021, from : https://www.yumpu.com/en/document/view/6956567/judy-karwacki- president- small- planet-consulting-web-www-.

Ministry of Tourism and Sports. (2011). National Tourism Development Plan 2012-2015. Bangkok : Ministry of Tourism and Sports. 125 pages.

Ministry of Tourism and Sports. (2016). Domestic tourism statistics (classify by region and province) [Online]. Retrieved October 10, 2017, from : http://www.mots.go.th.

Poulsson, S. H. G., and Kale, S. H. (2004). The Experience Economy and Commercial Experiences. Boston : Harvard Business. 289 pages..

Schmitt, N. (2007). Vocabulary in language teaching. (8th Ed.). Cambridge : Cambridge University Press. 359 pages.

บุคลานุกรม

ผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มที่ 1. (2565). การจัดการตลาดท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของหมู่บ้านทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์. (สุรีรัตน์ เครือบคนโท, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มที่ 2. (2565). การจัดการตลาดท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของหมู่บ้านทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์. (สุรีรัตน์ เครือบคนโท, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มที่ 3. (2565). การจัดการตลาดท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของหมู่บ้านทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์. (สุรีรัตน์ เครือบคนโท, ผู้สัมภาษณ์)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-10