ความสัมพันธ์ของความพึงพอใจกับความจงรักภักดีในการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ความสัมพันธ์, ความพึงพอใจ, ความจงรักภักดี, การจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อศึกษาความจงรักภักดีของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดบุรีรัมย์ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความพึงพอใจกับความจงรักภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดบุรีรัมย์ และ 4. เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาเพื่อสร้างความจงรักภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method research) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 400 คน และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ มีความพึงพอใจ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความจงรักภักดีของนักท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ ภาพรวมในระดับมากเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวกับความจงรักภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ความพึงพอใจ 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความปลอดภัย ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและด้านผลจากการให้บริการ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในภาพรวมเชิงบวกอยู่ระดับสูง เท่ากับ 0.736 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงกีฬาผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน การดำเนินงานของทุกภาคส่วนมีประสิทธิภาพผ่านระบบข้อมูลส่วนกลางเป็นไปตามกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้ององค์กรธุรกิจบุรีรัมย์เป็นเมืองเป้าหมายสำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อมาชมกีฬาทั้งฟุตบอลแข่งรถระดับประเทศและนานาชาติ
References
กรวรรณ สังขกร. (2559). การศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเส้นทางอารยธรรมล้านนา [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565, จาก : https://elibrary.trf.or.th/project_researcher.asp?resid=R00657&rename=%A1%C3%C7%C3%C3%B3%20%20%CA%D1%A7%A2%A1%C3.
กรุณา ชิดชอบ. (2558). ปาฐกถาหัวข้อ “บุรีรัมย์เมืองกีฬามาตรฐานโลก ” โดยเนวิน ชิดชอบ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565, จาก : https://www.youtube.com/watch?v=f0hLAJ3FwHE
กิตติมา แซ่โห. (2559). ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ภาพลักษณ์คุณภาพบริการ และค่านิยมในการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อทัศนคติการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน : กรณีศึกษาการท่องเที่ยวไทยทางธรรมชาติของนักท่องเที่ยวชาวไทยวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). วิเคราะห์ศักยภาพของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กองวิชาการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 110 หน้า.
ทีมเศรษฐกิจ ไทยรัฐออนไลน์. (2557). บุรีรัมย์โมเดล ต้นแบบการสร้างเมืองใหม่ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565, จาก : http://www.thairath.co.th/content/435963.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี. 210 หน้า.
นวลรัตน์ วัฒนา.และภัทรวรรณ แท่นทอง. (2561). ความจงรักภักดีของนักท่องเที่ยวในบริบทโซเซียลคอมเมิร์ซ (Tourist’s Loyalty in Social Commerce Context). Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 632-650.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุรีวิริยาสาส์น. 315 หน้า.
ประภัสสร มีน้อย. (2562). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของภูมิภาคตะวันตกเพื่อรองรับการเข้าสู่ประเทศไทย 4.0. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(2), 51-66.
ปานณนาถ ศักดิ์ศิริคุณ. (2562). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในเขตพื้นที่ล้านนาตะวันออกตามความสำเร็จของหลักอิทธิบาท. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 8(1), 155-167.
วัชระ เชียงกูล และเทิดชาย ช่วยบำรุง. (2560). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของท่องเที่ยวเชิงกีฬา จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1), 90-109.
วันทนีย์ ศรีนวล และอัศวิน แสงพิกุล (2560) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(1), 175-194.
สิงหชัย ผ่องบุรุษ. (2557). การจัดทำกรอบยุทธศาสตร์พัฒนาขององค์กรส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนา สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์. 118 หน้า.
สิญาธร ขุนอ่อน. (2558). การวัดความภักดีของลูกค้าสำหรับธุรกิจโรงแรม. วารสารนักบริหาร, 35(1), 64-74.
สัจจา ไกรศรรัตน์. (2560). กระบวนการสื่อสารทางการตลาดของย่านตลาดเก่าในมิติของการอนุรักษ์เอกลักษณ์ชุมชนและพัฒนาสู่การท่องเที่ยว [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565, จาก : file:///C:/Users/ Administrator/Downloads/RDG5850045V05_full.pdf.
สำนักงานสถิติจังหวัดบุรีรัมย์. (2563). รายงานสถิติจังหวัดบุรีรัมย์ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564, จาก : http://www.oic.go.th/INFOCENTER2/276/.
Higham, J. (1999). Commentary-Sport as an Avenue of Tourism Development : An Analysis of the Positive and Negative Impacts of Sport Tourism. Current Issues in Tourism, 2(1), 82-90.
Oliver, R. L. (1999). Whence consumer loyalty?. Journal of Marketing, 63(Special Issue 1999), 33-44.
Saayman, M. (2009). In Hospitality, leisure and tourism management.(2nd Ed). Potchefstroom : Leisure Institute for tourism and leisure study.
อ้างอิงผู้ให้สัมภาษณ์
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มที่ 1. (2565). ความสัมพันธ์ของความพึงพอใจกับความจงรักภักดีในการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดบุรีรัมย์. (ณัฐพล นวะมะรัตน์, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มที่ 2. (2565). ความสัมพันธ์ของความพึงพอใจกับความจงรักภักดีในการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดบุรีรัมย์. (ณัฐพล นวะมะรัตน์, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มที่ 3. (2565). ความสัมพันธ์ของความพึงพอใจกับความจงรักภักดีในการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดบุรีรัมย์. (ณัฐพล นวะมะรัตน์, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มที่ 4. (2565). ความสัมพันธ์ของความพึงพอใจกับความจงรักภักดีในการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดบุรีรัมย์. (ณัฐพล นวะมะรัตน์, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มที่ 5. (2565). ความสัมพันธ์ของความพึงพอใจกับความจงรักภักดีในการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดบุรีรัมย์. (ณัฐพล นวะมะรัตน์, ผู้สัมภาษณ์)