การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำตบหัวไชเท้าเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มความสวยความงาม ชุมชนยางหย่อง ตำบลยางหย่อง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • กนกพร บุญธรรม อาจารย์ สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • สุธาสินี อัมพิลาศรัย อาจารย์ สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • มนัญญา ปริยวิชญภักดี อาจารย์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์, น้ำตบหัวไชเท้า, เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำตบหัวไชเท้า และ 2) ประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์น้ำตบหัวไชเท้าเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มความสวยความงามชุมชนยางหย่อง ตำบลยางหย่อง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สมาชิกกลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตบหัวไชเท้าของกลุ่มความสวยความงามชุมชนยางหย่อง จำนวน 5 คน และผู้บริโภคในจังหวัดเพชรบุรีจำนวน 100 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัย พบว่า 1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำตบหัวไชเท้าเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจพบว่าการพัฒนาน้ำตบหัวไชเท้าเป็นสารสกัดจากหัวไชเท้า มีลักษณะเป็นน้ำชนิดเหลว ใส สามารถบำรุงผิว สลายฝ้า กระ ลดริ้วรอย ลดการอักเสบสิว ลดการระคายเคืองผิว และกระตุ้นสร้างคอลลาเจน โดยจะบรรจุเป็นแบบขวดพลาสติกสีขาว ขนาด 150 มิลลิลิตร และออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็นแบบกล่องกระดาษที่บรรจุผลิตภัณฑ์น้ำตบหัวไชเท้าได้พอดี มีสรรพคุณ ส่วนประกอบ วิธีใช้ สถานที่ผลิตและจัดจำหน่ายอย่างชัดเจน และสีของบรรจุภัณฑ์ประกอบด้วย 2 สี คือ สีขาว สีฟ้า  มีรูปหัวไชเท้าเพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์เน้นการจดจำได้ง่าย จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความประทับใจและสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ และ 2. ผู้บริโภคจังหวัดเพชรบุรีมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์น้ำตบหัวไชเท้า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์มีความชุ่มชื้นกระชับต่อผิวและรูขุมขนได้ดีมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์ช่วยป้องกันสิว สลายฝ้า กระ จุดด่างดำได้ ผลิตภัณฑ์มีกลิ่นหอม ผลิตภัณฑ์มีบรรจุภัณฑ์สวยงามและน่าสนใจ ผลิตภัณฑ์สามารถฟื้นฟูผิวที่หมองคล้ำให้สว่างใสขึ้น ผลิตภัณฑ์ช่วยลดการอักเสบชะลอวัยและริ้วรอยบนผิว ผลิตภัณฑ์มีขนาดปริมาณที่พอเหมาะ และผลิตภัณฑ์มีรายละเอียดส่วนผสมและป้ายฉลากที่ชัดเจน ตามลำดับ

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2563). ข้อมูลโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 เมษายน 2563, จาก : http://www.thaitambon.com/OTOP/Info/Info1A.htm.

กัมพล แสงเอี้ยม. (2561). กระบวนการพัฒนาศักยภาพชุมชน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอท้องถิ่นจังหวัดลำปางโดยประยุกต์แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(3), 10-19.

ณัฐกาญจน์ สุวรรณธารา. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเลือกซื้อเครื่องสำอางตราสินค้าไทยของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(25), 164-171.

ดารณี ธัญญสิริ. (2564). การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้า OTOP. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(4), 31-40.

นภาทิพย์ ไตรกุลนิภัทร. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นฤมล ญาณสมบัติและเจนวิชญ์ ทองอ่อน. (2564). การเพิ่มมูลค่าตราสินค้าโดยใช้สัญลักษณ์และเครื่องมือการค้า. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 281-294.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 219 หน้า.

ภาวิณี กาญจนาภา. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ท้อป. 285 หน้า.

วรรษมน สุขโชคพานิช. (2557). ประสิทธิภาพครีมทำให้ผิวขาวที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากหัวไชเท้า. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่2). อุดรธานี : อักษรศิลป์การพิมพ์. 455 หน้า.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี. (2563). ความเป็นมาโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์.[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2563, จาก: https://district.cdd.go.th/bansang/services/ความเป็นมาโครงการหนึ่ง/.

สุทธิศักดิ์ กลิ่นแก้วณรงค์. (2558). การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อผลักดันผลิตภัณฑ์ OTOP. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 21 เมษายน 2563, จาก : http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_j/2558_63_199_p19-21.pdf.

Hambleton, R.K., Swaminathan, H., Algina, J., and Coulson, D. B. (1978). Criterion-Referenced testing and Measurement: a Review of Technical Issue and Developments. Review of Educational Research, 48(1), 1-47.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory (2 nded.). New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-07