ไอโอทีกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัติ สำหรับผู้บริโภค กลุ่มดูแลสัตว์เลี้ยงเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว
คำสำคัญ:
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์, ไอโอที, เครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัติ, กลุ่มดูแลสัตว์เลี้ยงแบบเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการออกแบบและพัฒนาเครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัติ ด้วยไอโอทีสำหรับกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ ที่ดูแลสัตว์เลี้ยงแบบเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเพื่อช่วยในการเตรียมอาหารให้สัตว์เลี้ยงเมื่อผู้เลี้ยงไม่อยู่ในที่พักอาศัยหรือกลับเข้าที่พักไม่ตรงเวลา ขั้นตอนการดำเนินงานเริ่มจากการสำรวจปัญหาและความต้องการของ ผู้เลี้ยงแมวกลุ่มที่ดูแลแมวเป็นเหมือนสมาชิกของครอบครัว ด้วยการจัดทำสนทนากลุ่ม จำนวน 10 ราย การสำรวจปัญหาด้วยแบบสอบถามปลายเปิดจำนวน 30 ราย และแบบสอบถามปลายปิด จำนวน 90 ราย เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการ เพื่อใช้เป็นข้อกำหนดคุณลักษณะของเครื่องให้อาหารแมวในขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่อไป จากนั้นดำเนินการเขียนโปรแกรมและออกแบบวงจรอัตโนมัติ ด้วยโปรแกรม Arduino IDE พร้อมสร้างแอปพลิเคชันและเชื่อมต่อวงจรอัตโนมัติเพื่อใช้งานบนอุปกรณ์ฉลาดเคลื่อนด้วยแอปพลิเคชัน Blynk ขั้นตอนต่อมาเป็นการออกแบบและสร้างเครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัติต้นแบบ ด้วยการประยุกต์หลักการของการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการประเมินผลการใช้งานจริง เครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัติต้นแบบ ถูกออกแบบและสร้างโดยให้ความสำคัญกับคุณลักษณะที่กลุ่มเป้าหมายให้ความสำคัญ 11 ด้าน การทดสอบการใช้งานของเครื่องต้นแบบพบว่าเครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัติต้นแบบสามารถทำงานตามฟังก์ชันที่กำหนดและแสดงผลผ่านสมาร์ทโฟนได้อย่างสมบูรณ์ สามารถช่วยลดภาระด้านการดูแลการให้อาหารแมวของกลุ่มผู้ใช้งานได้จริง โดยมีผลการประเมินคะแนนความพึงพอใจทุกด้านเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าการประยุกต์หลักการด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการด้วยการบูรณาการระบบไอโอที ภายใต้เงื่อนไขการใช้งานได้อย่างเหมาะสม และสามารถใช้เป็นแนวทางในการบูรณาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันอื่นได้ต่อไป
References
กรมประชาสัมพันธ์. (2563). คลังความรู้ PRD [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2563, จาก : http://km.prd.go.th.
กรมปศุสัตว์ (2562). แผนที่แสดงจำนวนสุนัข-แมว (ปี 2562 รอบที่ 1) สำรวจโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2563, จาก : http://164.115.40.46/petregister.
เจษฎา ขจรฤทธิ์, ปิยนุช ชัยพรแก้ว และหนึ่งฤทัย เอ้งฉ้วน. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Internet of Things ในการควบคุมระบบส่องสว่างสำหรับบ้านอัจฉริยะ. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(1), 1-11.
ชัยวิทย์ ถิระวณัฐพงษ์ และยุทธนา พรรคอนันต์. (2563). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีควบคุมโรงเรือนเพาะเห็ด ฟาร์มอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์. วารสารวิชาการเทพสตรี I-TECH, 15(2), 102-111.
ตรีรัตน์ อรอมรรัตน์. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออาหารแมวสำเร็จรูประดับพรีเมี่ยม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธรัช อารีราษฎร์ และวรปภา อารีราษฎร์. (2563). ระบบไอโอทีสำหรับการตรวจสอบความชื้นและอุณหภูมิเพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเห็ดในโรงเรือนให้มีผลผลิตที่สมบูรณ์. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 6(1), 7-17.
นิติคม อริยพิมพ์, ชัยพร อัดโดดดร และวินัย คำทวี. (2562). การออกแบบและสร้างระบบ IoT สำหรับบ้านจำลองที่ควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานระดับชาติและนานาชาติ ครั้งทึ่ 7 (CASNIC 2019), 16 พฤศจิกายน 2562. 1535 -1545. ขอนแก่น. วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย.
ปัทมา เหมือนสมัย (2557). คำอ้างถึงบุรุษในภาษาไทยในการอ้างอิงและพูดคุยกับสัตว์เลี้ยง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิพัฒน์ ดุรงค์ดำรงชัย และชัยพร อัดโดดดร. (2563). แบบจำลองระบบไอโอทีสำหรับฟาร์มไก่อัตโนมัติที่ควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม, 7(2), 73-86.
วีรศักดิ์ ฟองเงิน สุรพงษ์ เพ็ชร์หาญ และรัฐสิทธิ์ ยะจ่อ. (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า. วารสารวิชาการการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), 172-182.
วอนชนก ไชยสุนทร. (2558). Internet of Things เมื่อทุกสิ่งเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 727-733.
ศิวพร เที่ยงธรรม และบุหงา ชัยสุวรรณ (2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคกลุ่ม Pet Parents. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 4(2), 61-75.
ศุภาวีร์ มงคลชาติ. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงสำหรับแมวของผู้บริโภคที่เลี้ยงแมวในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
Berkman, H. W. and Gilson, C. C. (1974). Consumer lifestyles and market segmentation. Journal of the academy of marketing science, 2(1-4), 189-200.
Chicone, D. (2015). Being a Super Pet Parent: Everything You Need to Know to Foster a Long Relationship with Your Dog. Dancing Paws Press.
Habib, A., johargy, A., Mahmood, K. and Humma. (2014). Design And Determination of The Sample Size in Medical Research. IOSR Journal of Dental and Medical Sciences, 13(5), 21-31.
Karl, T. U. and Eppinger, S.D. (2016). Product Design and Development. (6th Ed). New York : McGraw Hill. 432 pages.
Muhammad, A., Muhammad, Ammad-Uddin, Sharif, Z., Mansour, A. and Aggoune, El-Hadi M. (2019). Internet-of-Things (IoT) - Base Smart Agriculture: Towards Making the Fields Talk. IEEE Access, 2019(7), 129551-129583.
Talapatra, S., Shakil, Md., Mondal, P.K. and Islam, Md. S. (2014). Implementation of Product Design Tools for the Development of an Automated Vegetable Chopper. Technology and Investment, 2014(5), 1-7.