การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

ผู้แต่ง

  • อมรา ดอกไม้ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ศุภลักษณ์ ศรีวิไลย อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ, ปัจจัย, การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดอ่างทอง และนักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2564 สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับนักเรียน/นักศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสำรวจ โดยทำการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญและใช้วิธีการหมุนแกนแบบมุมฉาก ด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลจากการวิจัย พบว่า มีตัวแปร 17 ตัว ที่มีค่าสถิติของ Kaiser-Meyer-Olkin เท่ากับ 0.848 และค่า Chi-Square เท่ากับ 1343.039 สามารถวิเคราะห์องค์ประกอบได้ 4 องค์ประกอบ คือ 1. ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย 2. ด้านการศึกษา  3. ด้านความสนใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และ 4. ด้านเหตุผลส่วนตัว โดยมีค่าความแปรปรวนสะสมร้อยละ 43.123 นอกจากนี้ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ซึ่งหลักสูตรจะนำปัจจัยดังกล่าวไปเป็นข้อมูลประกอบการปรับปรุงหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนต่อไป

References

ไกรสิงห์ สุดสงวน. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 201-207.

ชุติมา ฮากิม, อัจฉรา ไชยูปถัมภ์, วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความสามารถในการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนของนักศึกษาพยาบาลทหาร-ตำรวจ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 13(2), 224-240.

ชณิดาภา บุญประสม และ จรัญ แสนราช. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบการลาออกกลางคันของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 10(1), 86-97.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี. 570 หน้า.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2564) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2565, จาก : https://www.nesdc.go.th/download/document/logistic/plan3.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2565, จาก : https://www. https://www.nesdc.go.th/download/document/Yearend/2021/plan13.pdf.

Cochran, W.G. (1963). Sampling Technique. New York: London.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Test. (5th edition). New York: Harper Collins.

Likert, R. N. (1970). A technique for the measurement of attitude. Attitude Measurement. Chicago: Ronal McNally & Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-21