การพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการงานแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา ทองพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, การประเมินประสิทธิภาพ, โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ, ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ, งานแผนและงบประมาณ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการงานแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเพชรบูรณ์ 2. ศึกษาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อ การบริหารจัดการงานแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเพชรบูรณ์ที่พัฒนาขึ้น 3. ศึกษาคุณภาพระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการงานแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเพชรบูรณ์ และ 4. ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการงานแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร หัวหน้างานแผนและงบประมาณ ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่งานแผนและงบประมาณ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการที่พัฒนาขึ้น แบบสอบถามเพื่อประเมินประสิทธิภาพระบบ และแบบสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพและความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ได้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการงานแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเพชรบูรณ์ ที่มีประสิทธิภาพในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.84, S.D. = 0.37) 2. มีผลการประเมินคุณภาพจากผู้ใช้ระบบอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.60, S.D. = 0.56) และ 3. ผู้ใช้งานระบบมีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.57, S.D. = 0.62)

References

กำจอน สืบสนิท. (2555). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงบประมาณของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ไกรทพนธ์ เติมวิทย์ขจร, ศิริชัย นามบุรี และนิมารูนี หะยีวาเงาะ. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระยะที่ 1. ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 62 หน้า.

จุฬาวรรณ ปาสาจันทร์ และวงกต ศรีอุไร. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการการเบิกจ่ายงบประมาณ: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเซเป็ด. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 1(1), 17-26.

ชุมแพร บุญยืน และลำปาง แม่นมาตย์. (2564). การใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 39(3), 1-27.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเพชรบูรณ์. (2564). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตเพชรบูรณ์ พุทธศักราช 2561–2565 (ฉบับทบทวน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเพชรบูรณ์. 37 หน้า.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). R2R งานประจำสู่งานวิจัย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก : https://op.mahidol.ac.th/qd/km/r2r.html

รัตติยา สัจจภิรมย์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารงบประมาณรายจ่ายเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 71 หน้า.

ราเมศ ชาญณรงค์, สายทิตย์ ยะฟู และนริศรา จันทรประเทศ. (2562). ประสิทธิภาพการใช้งานระบบสารสนเทศภาวะการมีงานทำของบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(2), 137–146.

ลัดดาวัลย์ มะรัตน์ และธรรมนิตย์ วราภรณ์. (2563). การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 347–356.

ศราวุธ แดงมาก. (2560). โลกแห่งดิจิทัล ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ความมหาศาลของข้อมูลทางการแพทย์ สู่การค้นพบความรู้ที่มีค่าด้วยการทำเหมืองข้อมูล. เวชบันทึกศิริราช, 10(1), 29–33.

เศรษฐชัย ใจฮึก, ธิดารัตน์ สุขประภาภรณ์ และวิชิต นางแล. (2561). การสร้างและพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บเพื่อการบริหารงบประมาณงานวิจัย กรณีศึกษา สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9, 20 กรกฎาคม 2561. 1667-1678. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด - 19 : กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(4), 203–213.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-25