ต้นแบบการพัฒนา นวัตกรรมองค์กรการเงินชุมชนเพื่อความยั่งยืน กรณีศึกษาพื้นที่ชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • นิภาวัลย์ พุทธไทยรัช อาจารย์ประจำหลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • นภาพรรณ พัฒนฉัตรชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ธราธร ภูพันเชือก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • นวรัตน์ นิธิชัยอนันต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อาภาพร บุญประสพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • พัชราภรณ์ เกลียวแก้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

นวัตกรรมองค์กรการเงินชุมชน, องค์กรการเงินชุมชน, ความยั่งยืน

บทคัดย่อ

            การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การบริหารงานขององค์กรการเงินชุมชนภายใต้ปัจจัยสภาพแวดล้อมบริบทชุมชนในอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ การพัฒนานวัตกรรมขององค์กรการเงินชุมชนที่มีความเข้มแข็งสำหรับเป็นต้นแบบการพัฒนานวัตกรรมองค์กรการเงินชุมชนที่เหมาะสมและยั่งยืน วิธีการศึกษาใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มองค์กรการเงินชุมชนในพื้นที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 5 กลุ่ม เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การสังเกต และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า  กระบวนการบริหารงานขององค์กรการเงินชุมชน ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในที่มีผลต่อบริหารงาน ประกอบด้วย บริบทท้องถิ่นชุมชน โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของชุมชน และนิเวศน์วัฒนธรรมชุมชน ส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ประกอบด้วย สภาพเศรษฐกิจและสังคมระดับมหภาค เทคโนโลยีและนวัตกรรม และแนวนโยบายภาครัฐต่อองค์กรการเงินภาคประชาชน สำหรับปัจจัยที่เสริมสร้างความเข้มแข็ง ประกอบด้วย ด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ได้แก่ ฐานองค์ความรู้ และฐานนิเวศน์เศรษฐกิจ วัฒนธรรมชุมชน ด้านภาคีเครือข่าย และด้านกฎระเบียบและแนวนโยบายภาครัฐ นวัตกรรมที่ก่อให้เกิดความมั่นคงต่อกลุ่มองค์กรการเงินชุมชน ประกอบด้วย การจัดองค์กรการเรียนรู้สู่ชุมชนนวัตกรรม การบูรณาการเศรษฐนิเวศวัฒนธรรมชุมชน นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนต่อกลุ่มองค์กรการเงินชุมชน ประกอบด้วย นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมการดำเนินงาน และนวัตกรรมภาคีเครือข่าย

References

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโจรก. (2563). บัญชีแสดงสถานะการเงินของกลุ่มประจำปี 2562. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโจรก ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์.

กิตติชัย นวลทอง. (2560). รูปแบบและผลสัมฤทธิ์ของการแปรสภาพกองทุนหมู่บ้านและกลุ่มการเงินขนาดเล็กเป็นองค์กรการเงินชุมชนที่เข้มแข็ง. ศูนย์วิจัยและพัฒนา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2563, จาก : https://www.pandinthong.com/innovation-dwl-th/401291791792.

จิรภา โสภณ, สิริรัตน์ ชอบขาย และธีรพันธ์ สาตราคม. (2559). การเปลี่ยนแปลงการถือครองที่ดินในเขตพื้นที่ชายแดนอีสานตอนล่าง กรณีศึกษา ด่านการค้าชายแดนช่องจอม ช่องสะงำ และช่องเม็ก. ชุดโครงการสถานการณ์การแย่งยื้อ เปลี่ยนมือ ถือครองและการใช้ที่ดินในพื้นที่ชายแดน (ระยะที่ 1). รายงานการวิจัย สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2563, จาก : https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG5710034.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2540). แถลงการณ์ร่วมกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา ฉบับที่ 45/2540 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2563, จาก : https://www.bot.or.th/Thai/PressAndSpeeches/Press/News2540/n4540t.pdf.

พยัต วุฒิรงค์. (2562). การจัดการนวัตกรรม จากแนวคิดสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 256 หน้า.

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ(องค์การมหาชน) พ.ศ. 2544. (13 กรกฎาคม 2544) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 118 ตอนที่ 55 ก. หน้า 1-12.

สฤณี อาชวานันทกุล และ ปัทมาวดี โพชนุกูล. (2556). คู่มือองค์กรการเงินชุมชน: แนวทางการบริหารจัดการองค์กรการเงินชุมชน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. 168 หน้า.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563, จาก : https://www.nesdc.go.th/ ewt_dl_link.php?nid=6422.

Gilchrist, A. (2009). The Well-Connected Community A Networking approach to community development. (2nd edition). UK : The Policy Press [Online]. Retrieved May 9th, 2020, Available : https://library.uniteddiversity.coop/REconomy_Resource_Pack/Community_Assets_and_Development/The_Well_Connected_Community-A_Networking_Approach_to_Commun.pdf.

Sadan, E. (2004). Empowerment and Community Planning. Translated from Hebrew by Flantz, R. [Online]. Retrieved February 23th, 2020, Available : http://www.mpow.org/elisheva_sadan_ empowerment.pdf.

Senge, P. M. (2004). The Fifth Discipline. The Art and Practice of The Learning Organization. New York : Bantam Doubleday Dell Publishing Group. 412 Pages. [Online]. Retrieved May 9th, 2020, Available : https://edisciplinas.usp.br/pluginfile.php/4672782/mod_folder/content/0/Senge%201990%20livro%20the%20fifth%20discipline.pdf?forcedownload=1

Slater, S. F. and Narver, J C. (1995). Market Orientation and the Learning Organization. Journal of Marketing, 59(3), 63-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-27