การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุในเขตการบิน ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง
คำสำคัญ:
อุบัติเหตุ, เขตการบิน, ท่าอากาศยานดอนเมืองบทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอข้อมูลที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุในเขตการบิน ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ปฏิบัติงานในเขตการบิน ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ปฏิบัติงานมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุในเขตการบิน ณ ท่าอากาศยานดอนเมืองรายด้าน เรียงลำดับความคิดเห็นจากระดับมากที่สุดไปยังน้อยที่สุด ดังนี้ ปัจจัยด้านผู้ปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 รองลงมา คือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 ปัจจัยด้านการบริหารจัดการความปลอดภัยขององค์กร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 และปัจจัยด้านอุปกรณ์ที่ใช้ปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เท่ากับ 3.93 ตามลำดับ โดยในส่วนความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุในเขตการบิน ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง พบว่าการปฏิบัติงานด้วยความประมาทเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุในเขตการบินมากที่สุด ดังนั้นหน่วยงานท่าอากาศยาน และบริษัทผู้ประกอบการสายการบินควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานแก่ผู้ปฏิบัติงาน และเน้นย้ำให้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัท และของท่าอากาศยานอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานมีทัศนคติที่ดีต่อกฎระเบียบ และเป็นการส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยเชิงบวกต่อไป
References
เกตุชรินทร์ หาป้อง. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุของยานพาหนะที่ให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานในสนามบิน. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จัดพล ภัยแคล้ว, สงวน วงษ์ชวลิตกุล และมารุต โคตรพันธ์. (2561). ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรม ABC ในจังหวัดนครราชสีมา. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 19, 9 มีนาคม 2561. 44 - 51. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชูชีพ แก่นแสง. (2549). มนุษยปัจจัยที่เป็นสาเหตุของอุบัติการณ์/อุบัติเหตุในเขตการบิน ณ ท่าอากาศยานดอนเมืองในปี พ.ศ.2547. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
ณุฐิพงศ์ สนส่ง และเสกสรรค์ สุทธิสงค์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการให้บริการอุปกรณ์ของพนักงานบริการลานจอดในเขตพื้นที่ลานจอดอากาศยานท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(2), 147 - 154.
ธิติพันธ์ สุขเนตร. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของพนักงานช่างซ่อมบำรุงอากาศยานภายในลานจอดท่าอากาศยานกรุงเทพฯ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). (2562ก). รายงานสถิติการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่เขตการบิน. ส่วนบริการเขตการบิน ฝ่ายปฏิบัติการเขตการบิน ท่าอากาศยานดอนเมือง.
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). (2562ข). รายงานสถิติการออกบัตร รปภ.บุคคลชนิดถาวร. ฝ่ายรักษา ความปลอดภัย ท่าอากาศยานดอนเมือง. 22 หน้า.
ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา = Educational research. (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์. 462 หน้า.
ภูริต คำชนะ, มนต์ชัย สุระรัตน์ชัย และเลิศชัย ระตะนะอาพร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในงานให้บริการเครื่องบินภาคพื้น กรณีศึกษาสายการบินต้นทุนต่ำ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2560, 28 เมษายน 2560. 278-286. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรังสิต.
Dinesh, S., Sonali, C., Reshma, S., Anjay, M. (2019). Occupational Accidents in Cement Industries of Nepal. Journal of Advanced Research in Alternative Energy, Environment and Ecology, 22 - 28.
Hola, B. and Szostak, M. (2017). An Occupational Profile of People Injured in Accidents at Work in the Polish Construction Industry. Procedia Engineering, 208, 43 - 50.