ผลกระทบของมาตรฐานการตรวจสอบภายในต่อประสิทธิภาพการตรวจสอบภายใน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เอกพล ก้อนคำ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการบัญชี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ปานฉัตร อาการักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • จิรภา ศักดิ์กิตติมาลัย รองศาสตราจารย์ ประจำสำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

มาตรฐานการตรวจสอบภายใน, ประสิทธิภาพการตรวจสอบภายใน, องค์การบริหารส่วนจังหวัด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลกระทบของมาตรฐานการตรวจสอบภายในต่อประสิทธิภาพ       การตรวจสอบภายในขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย ประชากร คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ตรวจสอบภายในขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย จำนวน 73 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐานเบื้องต้นโดยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า มาตรฐานการตรวจสอบภายในมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในส่วนของมาตรฐานคุณสมบัติหน่วยตรวจสอบภายในที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย คือ กฎบัตรการตรวจสอบภายใน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นอกจากนี้ มาตรฐานการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย คือ ตัวแปรด้านการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 รองลงมา คือ ตัวแปรด้านการวางแผนการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน และด้านลักษณะของงานตรวจสอบภายใน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). สรุปข้อมูล อปท.ทั่วไประเทศไทย.สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564, จาก : http://www.dla.go.th/work/abt/

กองตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง. (2560). มาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการ. กระทรวงการคลัง.

ณัฐชรัตน์ สินธุชัย. (2560). ประสิทธิภาพของการตรวจสอบภายในของส่วนราชการในภาคกลางของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

ดารารัตน์ วงค์สถาน. (2558). การพัฒนากระบวนการตรวจสอบภายในของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. (2552). ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating Scale) เพื่องานวิจัย. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564, จาก : https://www.ms.src.ku.ac.th/schedule/Files/2553/Oct/1217086.doc

ธีระวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2553). การวิจัยหลักสูตรการเรียนการสอน หน่วยที่ 7 การศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและหน่วยที่ 10 สถิติวิเคราะห์ปริมาณ. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ภัชราภรณ์ จันทร์สว่าง. (2564). ความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนสิงหาคม 2564.

รัชนิดา โสมะ. (2560). กลยุทธ์การตรวจสอบภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.

วไลภรณ์ นวลสอาด. (2558). การประยุกต์ใช้มาตรฐานการตรวจสอบภายในที่มีอิทธิพลการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2564). องค์การบริหารส่วนจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564, จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/

วีเดช เกตุอ่ำ. (2557). การประเมินคุณภาพานตรวจสอบภายในของบริษัทที่ประกอบธุรกิจการวินาศภัย. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2558). รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558. กรุงเทพมหานคร : บริษัท นับหน้าครีเอชั่น จำกัด.

สุธารา บัวเทศ. (2562). การศึกษาประสิทธิผลงานตรวจสอบภายในของบริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

เสาวนีย์ วิมุกตายน, จีราภรณ์ พงศ์พันธุ์พัฒนะ และไพฑูรย์ อินต๊ะขัน (2562). ผลกระทบของสมรรถนะในการสอบทานงานตรวจสอบภายในที่มีต่อการบรรลุเป้าหมายการตรวจสอบภายใน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.

อรพรรณ แสงศิวะเวทย์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของงานตรวจสอบภายใน: มุมมองของผู้ตรวจสอบภายใน. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ (JISB) ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 เดือน กรกฎาคม-กันยายน 2561.

อรพินท์ รัตนโชติพานิช. (2560). การพัฒนาบทบาทการตรวจสอบภายในภาครัฐสมัยใหม่. กลุ่มตรวจสอบภายในกรมวิชาการเกษตร.

อรพินท์ วงศ์ก่อ. (2559). ผลกระทบของมาตรฐานการตรวจสอบภายในที่มีต่อคุณภาพการตรวจภายในของผู้ตรวจสอบภายในของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Aaker, D.A., V. Kumar and G.S. Day. (2001). Marketing Research (7th ed.). New York : John Wiley and Sons.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York : Harper & Row.pp. 202-204

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-30