การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการการลดอุบัติเหตุในวงเวียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วัลลภ นุกิจ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการการคลัง วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ณัฐณิชา ศรีแสง นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการการคลัง วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พีระพัฒน์ สร้อยวิทยา นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการการคลัง วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุภัทรา สิมะลี นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการการคลัง วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กนกพร มาลาเพชร นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการการคลัง วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

บริเวณวงเวียนภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น, อุบัติเหตุ, แนวทางการแก้ไข, วิเคราะห์ต้นทุนในการดำเนินโครงการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการการลดอุบัติเหตุในวงเวียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีผู้ขับขี่สัญจรไปมาภายในมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะจุดที่ประสบอุบัติเหตุเป็จำนวนมาก คือ บริเวณวงเวียนภายในมหาวิทยาลัยขอบแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น (กองป้องกันและรักษาความปลอดภัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2562) และสัมภาษณ์ผู้ที่เคยเกิดอุบัติเหตุในวงเวียน จำนวน 15 คน โดยวิธีการเลือกแบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้จัดทำได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา คือ การจัดทำป้ายเตือน “ให้รถทางขวามือไปก่อน” โดยใช้วิธีการศึกษาคือการวิเคราะห์ต้นทุน ผลประโยชน์ และวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการโดยใช้มูลค่าปัจจุบัน (NPV) และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (B/C Ratio) ผลการศึกษา พบว่า จากการวิเคราะห์ต้นทุนมีค่า 156,400 บาท และผลประโยชน์ตลอดโครงการเท่ากับ 391,000 บาท สรุปได้ว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 222,767 บาท และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนกับ 2.5 ซึ่งมีค่าเป็นบวกและมากกว่าศูนย์ แสดงว่าโครงการนี้มีความคุ้มค่าในการลงทุน

References

กองป้องกันและรักษาความปลอดภัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2560). ปัญหาของการขับขี่รถในวงเวียน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2560, จาก : https://security.kku.ac.th/.

กองป้องกันและรักษาความปลอดภัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2562). รายงานสถิติการเกิดอุบัติเหตุภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น : 2558 – 2562 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2562, จาก : https://security.kku.ac.th/.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2551). มูลค่าเงินตามเวลา (2) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2564, จาก : https://www.set.or.th/set/education/knowledgedetail.do?contentId=555

พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์, นพพร จันทรนำชู, และณัฐกฤตย์ ดิฐวิรุฬห์. (2554) การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการสายเลี่ยงเมือง สันป่าตอง-หางดง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, 6(2), 78.

พัทธนันท์ คงทอง และสมหญิง สุคนธ์. (2556). พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ : กรณีศึกษาชุมชน ตำบลท่ามิหรำ อำเมือง จังหวัดพัทลุง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 5(9), 29.

วัชรพงษ์ เรือนคำ และณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2562). อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย : มุมมองทางวิทยากรระบาด. วารสาร มฉก.วิชาการ, 23(1), 153.

วิไลลักษณ์ ตรีพืช. (2562). การวิเคราะห์ข้อมูลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(1), 11 .

สำนักงานบริหารโครงการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2560). ปัญหาของการขับขี่รถในวงเวียน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2560, จาก : https://registrar.kku.ac.th/.

สุรางค์ศรี ศีตมโนชญ์, วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์, อรชร อัฐทวีลาภ, ลักขณา ไทยเครือ. (2555). การพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรอย่างมีส่วนร่วมโดยอาศัยทรัพยากรและศักยภาพในพื้นที่ วงรอบที่ 3 จังหวัดภูเก็ต. รายงานวิจัย. มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-30