การประเมินขีดความสามารถผู้ประกอบการขนส่งข้ามแดนในแขวงสะหวันนะเขต ประเทศสปป.ลาว-เวียดนาม

ผู้แต่ง

  • Souliyo Soukkamthath นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ฐิติมา วงศ์อินตา อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การประเมินขีดความสามารถ, ผู้ประกอบการขนส่งข้ามแดน, การวัดประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยในการประเมินขีดความสามารถผู้ประกอบการขนส่งข้ามแดนในแขวงสะหวันนะเขต ประเทศ สปป.ลาว-เวียดนาม 2) ประเมินขีดความสามารถการบริหารจัดการของผู้ประกอบการขนส่งข้ามแดนในแขวงสะหวันนะเขต ประเทศ สปป.ลาว - เวียดนาม 3)  เสนอแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพ การให้บริการของผู้ประกอบการขนส่งข้ามแดน วิธีการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ด้วยแบบสอบถามผู้ประกอบการขนส่งสินค้าข้ามแดน และผู้ใช้บริการผู้ประกอบการขนส่งสินค้าข้ามแดนในแขวงสะหวันนะเขต ประเทศ สปป.ลาว โดยกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นผู้ประกอบการขนส่งสินค้าข้ามแดน จำนวน 8 บริษัท และกลุ่มที่ 2 เป็นผู้ใช้บริการผู้ประกอบการขนส่งสินค้าข้ามแดน จำนวน 153 ราย

ผลการประเมินขีดความสามารถผู้ประกอบการขนส่งข้ามแดน พบว่า ผู้ประกอบการขนส่งข้ามแดนส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม โดยผู้ประกอบการขนส่งประเมินขีดความสามารถในการจัดการของตนเองอยู่ในเกณฑ์ดีทั้ง 8 ด้าน โดยด้านที่มีขีดความสามารถในการดำเนินการสูงที่สุด คือ ด้านการจัดการยานพาหนะ รองลงมา เป็นด้านความสามารถในการปฏิบัติการและด้านภาพรวมขององค์กร ตามลำดับ ผลการประเมินขีดความสามารถในการปฏิบัติการและการแข่งขัน พบว่า อยู่ในเกณฑ์ดีเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการคู่แข่งต่างชาติประเทศเวียดนาม โดยปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการไปประกอบการขนส่งสินค้าในประเทศเวียดนามที่สำคัญ คือ ด้านกฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับภายในประเทศเวียดนาม อย่างไรก็ดีผลการประเมินขีดความสามารถผู้ประกอบการขนส่งข้ามแดนโดยผู้ใช้บริการ พบว่า ผู้ใช้บริการประเมินขีดความสามารถของผู้ประกอบการขนส่งน้อยกว่าที่ผู้ประกอบการขนส่งประเมินตนเองในทุกๆ ด้าน โดยด้านภาพรวมขององค์กรมีขีดความสามารถต่ำที่สุด

References

กรมการขนส่งทางบก และ Ministry of Public Works and Transport–MPWT.(2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนา เศรษฐกิจสังคม 5 ปี (ปี ค.ศ. 2016-2020) แผนกโยธิการและขนส่งในแขวงสะหวันนะเขต ประเทศ สปป.ลาว

กรมการขนส่งทางบก และ Department of Transport Lao PDR .(2556). การประกอบธุรกิจขนส่งสินค้าทางถนนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.

กรมการขนส่งทางบก และ Ministry of Public Works and Transport–MPWT.(2560). การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและเป็นการรองรับการรวมตัวกันของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2564. จาก : https://www.thaitruckcenter.com/qmarkv1/UploadFile/

KnowledgeSource/836067495.pdf

สำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.(2557). คู่มือส่งเสริมการค้าการลงทุนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2564. จาก : https://www.dft.go.th/th-th/dft-about-mission.

สำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.(2556). โอกาสทางการค้า และการลงทุน ในแขวงสะหวันนะเขต ประเทศ สปป.ลาว [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2564. จาก : https://www.dft.go.th/th-th/dft-about-mission.

สถาบันการขนส่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. (2559). การส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในการค้าและขนส่งสินค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน. กรุงเทพฯ: สถาบันการขนส่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Zamounty, P. (2556). การประเมินศักยภาพผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนในนครหลวงเวียงจันทน์ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-05