การจัดการระบบนิเวศดิจิทัลของพื้นที่ทำงานร่วมกัน ภายใต้สถานการณ์โควิด - 19

ผู้แต่ง

  • โสภิดา สัมปัตติกร อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • ชีวัน ทองสอดแสง อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดการ, พื้นที่ทำงานร่วมกัน, ระบบนิเวศดิจิทัล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการพื้นที่ทำงานร่วมกัน ระบบบริการและสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศดิจิทัลของพื้นที่ทำงานร่วมกัน และ 2) เพื่อทราบแนวทางในการยกระดับสู่ระบบนิเวศดิจิทัลของพื้นที่ทำงานร่วมกัน การวิจัยเชิงสำรวจนี้ ได้เลือกกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการพื้นที่ทำงานร่วมกัน จำนวน 400 คน ในจังหวัดขอนแก่น โดยวิธีสุ่มตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์การถดถอย ด้วยเทคนิคกำลังสองน้อยที่สุด ผลการวิจัยพบว่า ภายใต้สถานการณ์โควิด - 19 นี้ การจัดการพื้นที่ทำงานร่วมกันในด้านนวัตกรรมบริการ ด้านคาเฟ่สเปซ ด้านศูนย์กลางการศึกษาและฝึกอบรมทักษะ มีความสัมพันธ์ต่อระบบบริการและสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศดิจิทัลของพื้นที่ทำงานร่วมกัน เป็นโอกาสในการขยายการเรียนรู้ สร้างคุณค่า และเพิ่มประสบการณ์ของผู้ใช้บริการผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลของพื้นที่ทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ ระบบบริการและสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อระบบนิเวศดิจิทัลของพื้นที่ทำงานร่วมกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งผู้ใช้บริการในปัจจุบันนิยมใช้เทคโนโลยีควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อมและแบ่งปันคุณค่าร่วมกัน ในขณะที่ ด้านการขับเคลื่อนด้วยสังคมการทำงานร่วมกัน ไม่มีความสัมพันธ์ต่อระบบบริการและสิ่งแวดล้อม แต่มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อระบบนิเวศดิจิทัลของพื้นที่ทำงานร่วมกัน สะท้อนถึงความซับซ้อนของผู้ประกอบการ และแสวงหาประโยชน์ทางธุรกิจมากกว่าการแบ่งบันความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจร่วมกัน รวมถึงความต่างทางวัฒนธรรมของบุคคลที่เป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนด้วยสังคมการทำงานร่วมกัน และการยกระดับสู่ระบบนิเวศดิจิทัลของพื้นที่ทำงานร่วมกัน ควรบริหารด้านนวัตกรรมบริการและด้านศูนย์กลางการศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางเทคโนโลยีและศูนย์ทดลองนวัตกรรมที่มีรูปแบบกิจกรรมทั้งออนไลน์และออนไซต์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

References

กองแผนและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. (2563). ข้อมูลท้องที่และประชากรในจังหวัดขอนแก่น ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2563, จาก : http://www. kkpao.go.th/E-PlanData/?mod=index&file=datacat2-2.

คาร์สเทิน ฟอสท์. (2555). Coworking เกิดขึ้นได้อย่างไร [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563, จาก : https:// www.deskmag.com/th/coworking-spaces/the-birth-of-coworking-spaces-global-survey-005.

ณฐกร พินิจกรปภา และฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร. (2561). การจัดการพื้นที่สำนักงานร่วมแบ่งปันในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ครั้งที่ 8, 23 พฤศจิกายน 2561. 1128 - 1137. สุโขทัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

เบสต์ลิฟวิงเทสท์แบงค็อก. (2561). Co – Working Space เติบโตด้วยเศรษฐกิจแบ่งปัน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2563, จาก : https://www.bltbangkok.com/news/4252.

ประชาชาติธุรกิจ. เน็กซัสชี้เทรนด์ปี 2562 ธุรกิจ Co-Working Office โตก้าวกระโดด [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2563, จาก : https://www.prachachat.net/property/news-294723.

วลัยลักษณ์ รัตนวงศ์, ณัฐธิดา สุวรรณโณ, ธีรศักดิ์ จินดาบถ. (2557). การวัดนวัตกรรมการบริการของธุรกิจท่องเที่ยวไทย: วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิทยาการจัดการ, 31(1), 119 - 146.

สุภัชชา โฆษิตศรีปัญญา. (2558). การสร้างชุมชน (COMMUNITY) ใน COWORKING SPACE. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อารยา องค์เอี่ยม และพงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. บทฟื้นฟูวิชาการ Review Article. วิสัญญีสาร, 44(1), 36 - 42.

Arvidsson, A. (2014). Public Brands and the Entrepreneurial Ethics. Ephemera : Theory & Politics in Organization, 14(1), 119 - 124.

Autry, G. (2021). The functions of the FAA’s Commercial Space Transportation Advisory Committee : The Safety Working Group’s 2020 Tasker as Context. Journal of Space Safety Engineering, 8, 167 - 169.

Demir, K. A., Doven, G., Sezen, B. (2015). Industry 5.0 and Human-Robot Co-working. Procedia Computer Science, 158, 688 - 695.

Demir, K. A., Doven, G., Sezen, B. (2019). Industry 5.0 and Human-Robot Co-working. Procedia Computer Science, 158, 688 – 695.

Diez, F., Villa, A., Lopez, A. L., Iraurgi, I. (2020). Impact of Quality Management Systems in the Performance of Educational Centers : Educational Policies and Management Processes. Heliyon, 6, 1 - 7.

Fiorentino, S. and Bartolucci, S. (2021). Blockchain-based Smart Contracts as New Governance Tools for the Sharing Economy. Cities, 117, 1 - 9.

Flood, K., Mahon, M., McDonagh, J. (2021). Assigning Value to Cultural Ecosystem Services : The Significance of Memory and Imagination in the Conservation of Irish Peatlands. Ecosystem Service, 50, 1 - 16.

Florida, R. (2002). The Rise of the Creative Class: And How It’s Transforming Work, Leisure, Community and Everyday Life. New York : Basic Books.

Gandini, A. (2015). The Rise of Coworking Spaces: A Literature Review. Ephemera: Theory & Politics in Organization, 15(1), 193 - 205.

Hair J. F., Black, W. C., Babin B. J., Anderson, R. E., Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis. (6th edition). New Jersey : Pearson Education International.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., Tatham, R. L. (2010). Multivariate data analysis (7th edition). Upper Saddle River : Prentice Hall.

Harris, J. L. (2021). Bridging the Gap Between ‘Fin’ and ‘Tech’ : The Role of Accelerator Networks in Emerging FinTech Entrepreneurial Ecosystems. Geoforum, 122, 174 - 182.

Jolly, A., Caulfield, L. S., Sojka, B., Iafrati, S., Rees, J., Massie, R. (2021). Cafe Delphi: Hybridising ‘World Cafe’ and ‘Delphi Techniques’ for Successful Remote Academic Collaboration. Social Science & Humanities Open, 3, 1 - 6.

Konnola, T., Eloranta, V., Turunen, T., Salo, A. (2021). Transformative Governance of Innovation Ecosystems. Technological Forecasting & Social Change, 173, 1 - 14.

Kyro, R. and Artto, K. (2015). The Development Path of an Academic Co - Working Space on Campus – Case Energy Garage. Procedia Economics and Finance, 21, 431 – 438.

Luo, Y. and Chan, R. C. K. (2020). Production of Coworking Spaces : Evidence from Shenzhen, China. Geoforum, 110, 97 - 105.

McMorrow, S., Hancher-Rauch, H., Ohmit, A., Roberson, C. (2021). Community-Led Mental Health Promotion for People of Color in the United States. Mental Health & Prevention, 22, 1 - 9.

Nojd, S., Trischler, J. W., Otterbring, T., Andersson, P. K., Wastlund, E. (2020). Bridging the Valuescape with Digital Technology : A Mixed Methods Study on Customers’ Value Creation Process in the Physical Retail Space. Journal of Retailing and Consumer Services, 56, 1 - 10.

Nortvig, A. M., Petersen, A. K., Helsinghof, H., Braender, B. (2020). Digital Expansions of Physical Learning Spaces in Practice-based Subjects-Blended Learning in Art and Craft & Design in Teacher Education. Computer & Education, 159, 1 - 11.

Orlova, A., Nogueria, R., Chimenti, P. (2020). The Present and Future of the Space Sector: A Business Ecosystem Approach. Space Policy, 52, 1 - 8.

Schulz, T., Zimmermann, S., Bohm, M., Gewald, H., Krcmar, H. (2021). Value Co - Creation and Co - Destruction in Service Ecosystems: The Case of the Reach Now App. Technological Forecasting & Social Change, 170, 1 - 19.

Shi, Y., Yu, Y., Wang, L. (2015). Operational Impact on the Environment : Managing Service Systems with Environmental Deterioration. Int. J. Production Economics, 170, 310 - 320.

Wang, B., Xu, T., Gao, H., Ta, N., Chai, Y., Wu, J. (2021). Can Daily Mobility Alleviate Green Inequality from Living and Working Environments?. Landscape and Urban Planning, 214, 1 - 12.

Wijingaarden, Y., Hitters, E., Bhansing, P. V. (2020). Cultivating Fertile Learning Grounds: Collegiality, Tacit Knowledge and Innovation in Creative Co-working Spaces. Geoforum, 109, 86 - 94.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-18