การศึกษาความเป็นไปได้ในการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานปาล์มน้ำมันในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา จันทิม นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ธรรมวิมล สุขเสริม อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การเลือกทำเลที่ตั้ง, โรงงานปาล์มน้ำมัน, การศึกษาความเป็นไปได้ด้านเทคนิค

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานปาล์มน้ำมันในจังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากในจังหวัดอุบลราชธานีมีเกษตรกรที่ทำสวนปาล์มเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการจัดตั้งโรงงานปาล์มน้ำมันในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีโดยมีกรอบแนวคิดในการศึกษาที่พัฒนามาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในอดีตเกี่ยวกับการเลือกทำเลที่ตั้งด้านเทคนิค 8 ปัจจัยหลัก ได้แก่ แหล่งวัตถุดิบ แหล่งแรงงาน ที่ตั้งตลาดหรือแหล่งจำหน่าย ที่ดิน การขนส่ง พลังงาน สาธารณูปโภค และนโยบายของรัฐ โดยเก็บข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ   เพื่อนำมาผ่านกระบวนการวิเคราะห์ในการเลือกทำเลที่ตั้ง 5 วิธีได้แก่ (1) วิธีให้คะแนน เพื่อเป็นการชั่งน้ำหนักของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเลือกทำเลที่ตั้งการผลิต (2) วิธีเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการลงทุนเบื้องต้นและค่าใช้จ่ายรายปีของแต่ละทำเลที่ตั้ง (3) วิธีวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของทำเลที่ตั้งเป็นการหาความสัมพันธ์ของปริมาณการผลิต ต้นทุน และรายได้ (4) วิธีเปรียบเทียบระยะทาง และ (5) วิธีวิเคราะห์ด้วยตัวแบบการขนส่ง จากนั้น นำไปถ่วงน้ำหนักเพื่อหาข้อสรุปของทำเลที่เหมาะสม ผลการศึกษา พบว่า จังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่การเพาะปลูกปาล์มน้ำมันอย่างต่อเนื่อง จำนวน 5 อำเภอ คือ อำเภอนาจะหลวย อำเภอบุณฑริก อำเภอน้ำยืน อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอเดชอุดม โดยเฉลี่ยของการเก็บเกี่ยว สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 47,313 ตัน/ปีซึ่งหากมีการก่อสร้างโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มในจังหวัดอุบลราชธานีได้สำเร็จ จะมีความต้องการเก็บวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตเพียง ร้อยละ 9 จากผลผลิตทั้งหมด หรือประมาณ 4,258.17 ตัน/ปี ซึ่งความสามารถของโรงงานการผลิตน้ำมันปาล์ม ต่อ 1 สายการผลิต สามารถรับได้อยู่ที่ 4,088 ตัน/ปี หรือ 1.4 ตัน/ชั่วโมง หรือ 11.2 ตัน/วัน และภายหลังจากการใช้วิธีวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งโรงงานทั้ง 5 วิธี ได้นำวิธีการทั้งหมดมาถ่วงน้ำหนักเพื่อให้ได้ถึงบทสรุปว่าทำเลที่ตั้งใดมีความเหมาะสมที่สุด ซึ่งผลปรากฏว่าการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานปาล์มน้ำมันในจังหวัดอุบลราชธานี อำเภอน้ำยืนได้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจาก 5 วิธีทางเลือกมากที่สุดร้อยละ 85 ซึ่งเป็นทำเลที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในด้านปัจจัยหลักของการตั้งโรงงานการผลิตโรงงานปาล์มน้ำมันในจังหวัดอุบลราชธานี

References

กนกวรรณ จันทร์เจริญชัย. (2553). การเตรียมและการประเมินโครงการ. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 225 หน้า

เกษราภรณ์ สุตตาพงค์,บุญฑริกา ใจกระจ่าง,เธียรศักดิ์ ชูชีพ. (2553). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเลือกทำเลที่ตั้งของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรบัณทิต.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ทัตยา เจริญรัตนวัฒน์. (2552). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาน้ำมันปาล์มดิบขายส่งถึงโรงกลั่น. สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). (2561). แนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรม ปี 2563-2565 (อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 8 กันยายน 2563, จาก: https://www.krungsri.com/th/research/industry-outlook/Agriculture/Sugar-(1)/IO/io-oil-palm-20-th.

น้ำฝน พุฒิสันติกุล. (2553). การเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าของอะไหล่ยานยต์โดยใช้กระบวนการชั้นเชิง

วิเคราะห์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรัชญา ทารักษ์. (2552). การเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานผู้ผลิตบานประตูหน้าต่าง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พรวดี จันตะนา. (2554). อิทธิพลของการเลือกทำเลที่ตั้งที่มีผลต่อความสำเร็จในการประกอบการศูนย์บริการงานซ่อม เคาะ พ่นสี รถยนต์. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัชรนันท์ รัตนพงศ์จรัส. (2550). การประยุกต์ใช้วิธีกำหนดเชิงเส้นเพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งของธุรกิจผลิตน้ำผลไม้. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบรูพา.

ยุทธ กัยวรรณ์. (2547). การบริหารการผลิตในงานอุตสาหกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

รัฐศิริ นวลศิริ. (2551). การศึกษาปัจจัยสำหรับเลือกทำเลที่ตั้งในการผลิตของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม.วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี.

วารีรัตน์ เพชรสีช่วง. (2559). แนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรม ปี 2560-62 (อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2562, จาก : https://www.krungsri.com/bank/getmedia/b0779e2e-ef70-43eb-91ff-ac5a98639968/IO_Oil_Palm_2017_TH.aspx

สถาบันวิจัยพลังงานทดแทนจากน้ำมันปาล์มและพืชน้ำมัน คณะวิศวกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2559). โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 กันยายน 2562, จาก :http://www.biodiesel.eng.psu.ac.th/factory.php.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.). (2559). การสกัดปาล์ม [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 7 กันยายน 2561, จาก : http://fieldtrip.ipst.ac.th.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(องค์การมหาชน). (2558). การแปรรูปน้ำมันปาล์ม [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2562, จาก : http://www.arda.or.th.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-22