การพัฒนาผลิตภัณฑ์บะหมี่เสริมน้ำใบย่านาง

ผู้แต่ง

  • สมศักดิ์ ศิริขันธ์ อาจารย์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

บะหมี่ , ใบย่านาง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บะหมี่สูตรพื้นฐานเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์บะหมี่ 2) ความเหมาะสมของปริมาณน้ำใบย่านางทดแทนน้ำเปล่าบางส่วนในผลิตภัณฑ์บะหมี่เสริมน้ำใบย่านาง และ 3) การยอมรับต่อผลิตภัณฑ์บะหมี่เสริมน้ำใบย่านาง ที่ผ่านกระบวนการพัฒนาคุณภาพ ด้วยบะหมี่สูตรพื้นฐานจากงานวิจัยด้วยการสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ เพื่อประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส ด้านสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส (เซ็ตตัวดี) และความชอบโดยรวมเพื่อได้มาซึ่งสูตรการทดสอบที่ยอมรับ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร ปีการศึกษา 2563 ประชากรในอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและผลิตภัณฑ์บะหมี่เสริมน้ำใบย่านาง การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) บะหมี่สูตรพื้นฐานที่ยอมรับ มีสีเหลืองสวย ปราศจากกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ รสชาติดี เส้นที่เซ็ตตัวดี 2) ปริมาณน้ำใบย่านางทดแทนน้ำเปล่าบางส่วน ในผลิตภัณฑ์บะหมี่เสริมน้ำใบย่านาง อัตราส่วนน้ำใบย่านางต่อน้ำเปล่า คือ ร้อยละ 50 : 50 เป็นที่นิยม และ3) การยอมรับต่อผลิตภัณฑ์บะหมี่เสริมน้ำใบย่านาง ที่ผ่านกระบวนการพัฒนาคุณภาพ มีการยอมรับอยู่ในระดับการยอมรับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 38.5

References

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2554) ใบย่านาง [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563, จาก : http://phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=148.

ครูเอื้องฐปนีย์. (2562). อาหารหลัก 5 หมู่ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 8 กันยายน 2563, จาก : https://sites.google.com/site/khruxeuxngthpniy/.

ณัฐชา ตะวันนาโชติ. (2563). Making-Sense [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562, จาก : https://hr.tcdc.or.th/en/Articles/making-Sense.

ทองสุข ภูตาเศษ. (2559). การศึกษาปัจจัยที่ใช้ในการเลือกซื้อวัตถุดิบของร้านอาหารโดยใช้วิธีกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับขั้นกรณีศึกษา : ประเภท เนื้อสด อาหารทะเลสด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนัชญา เกณฑ์ขุนทด. (2554). ผลของการใช้แป้งถั่วเขียวเพาะถั่วงอกทดแทนแป้งสาลีบางส่วนต่อคุณภาพของเส้นบะหมี่สด. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยรังสิต.

ธีรดา เที่ยงตรง, วัชระ ประเสริฐรุ่ง, ราชดำริ วงศ์ก่อ และอารยา เจริญสุข. (2551). การผลิตบะหมี่เสริมวิตามินจากฟักทองและแครอท. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

บุญเรือง ขจรศิลป์. (2549). สถิติวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 9). นนทบุรี: โรงพิมพ์พีเอส. พริ้นท์. 162 หน้า.

สำนักงานสถิติจังหวัดสกลนคร. (2553). สถิติประชากรศาสตร์ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562, จาก : http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/districtList/S010107/th/63.htm

อโนทัย เพ็ชรสุวรรณ. (2549). การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับข้าวแต้น ในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ .

อมราภรณ์ วงษ์ฟัก. (2546). ก๋วยเตี๋ยว. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศรีสยามการพิมพ์ จำกัด. 82 หน้า.

อัจฉรา เทียมภักดี, วนิดา กัณฑรักษ์ และฤทธิโชค มาลา. (2548). การผลิตบะหมี่เสริมโปรตีนจากแป้งถั่วเหลือง. กรุงเทพฯ : คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

Yamane, T. 1967. Statistics, An Introductory Analysis, 2nded., New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-22