การใช้ทรัพยากรทางชีวภาพในชุมชนในการลดต้นทุนเพาะปลูก กรณีศึกษาการปลูกข้าวในเขตพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
ความหลากหลายทางชีวภาพ, การปลูกข้าว, การลดต้นทุน, ทรัพยากรในชุมชน, เกษตรอินทรีย์บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การใช้ทรัพยากรทางชีวภาพในชุมชนเพื่อลดต้นทุนเพาะปลูก กรณีศึกษาการปลูกข้าวในเขตพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของการปลูกข้าวและถอดบทเรียนการใช้ทรัพยากรทางชีวภาพในชุมชนเพื่อลดต้นทุนและลดการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกข้าว ในเขตพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยเก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามจากกลุ่มเกษตรกร จาก 7 ตำบล ในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จำนวนทั้งสิ้น 113 ราย และการสนทนากลุ่ม จากตัวแทนเกษตรกรจำนวน 15 ราย พบว่าเกษตรกรมีพื้นที่การปลูกข้าวเฉลี่ย 13.56 ไร่ต่อคน ซึ่งเป็นที่ดินของตนเอง พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูก ได้แก่
ข้าวเหนียว ส่วนใหญ่เป็นการทำนาดำ ปลูกข้าวได้ 1 – 2 ครั้งต่อปี ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ โดยใช้แหล่งน้ำฝนธรรมชาติเป็นหลัก ใช้เมล็ดพันธุ์ของตนเอง การปลูกข้าวมีการใช้สารเคมีมากกว่าสารอินทรีย์ การเก็บเกี่ยวผลผลิตนิยมว่าจ้างเครื่องเกี่ยวข้าว โดยผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เฉลี่ย 621.61 กิโลกรัมต่อไร่ โดยสามารถขายได้ในราคาเฉลี่ย 11,356.04 บาทต่อเกวียนและสัดส่วนของการใช้สารเคมีและสารอินทรีย์ที่แตกต่างกันมีผลต่อปริมาณผลผลิตข้าวที่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 องค์ความรู้จากการการถอดบทเรียนของเกษตรกรในการใช้ทรัพยากรทางชีวภาพในชุมชนเพื่อลดต้นทุนและลดการใช้สารเคมีในการเพราะปลูกข้าว ประกอบด้วย การใช้สมุนไพรพื้นบ้าน การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ การใช้เทคนิคการควบคุมระดับน้ำ วิธีการกำจัดตอซังข้าว การเตรียมดิน การกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชในนาข้าว รวมถึงการทำการเกษตรผสมผสาน เป็นการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาของเกษตรกรร่วมกับความรู้ที่ได้รับการฝึกอบรมจากหน่วยงานราชการเพื่อนำทรัพยากรทางชีวภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน สามารถลดต้นทุนการเพาะปลูกข้าวได้ร้อยละ 20.00-30.00
References
กรมวิชาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปี 2551-2561. ค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2563, จาก : http://www.oae.go.th/view/1/ปัจจัยการผลิต/TH-TH.
กรุงเทพธุรกิจ. (2563). ทำความรู้จัก ‘BCG Economy’ โมเดลใหม่ เศรษฐกิจไทย. ค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2563, จาก : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/859943.
ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร วีรวรรณ แจ้งโม้ และวิษณุเดช นันไชยแก้ว. (2561). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของการปลูกข้าวแบบเกษตรเคมี แบบข้าวปลอดภัย และแบบเกษตรอินทรีย์ กรณีศึกษา: ตำบลหนองหลวง อำเภอลาน กระบือ จังหวัดกำแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 18 และลำปางวิจัย ครั้งที่ 4. (905-918). ลำปาง : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
ชิดหทัย เพชรช่วย. (2560). สถานการณ์การใช้สารเคมีการเกษตรบริเวณภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่าง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19(1), 111-122.
ดนัย ธีวันดา. (2563). สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกับสุขภาพคนไทย. ค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2564, จาก : https://www.thaipan.org/wp-content/uploads/2020/11/1-danai.pdf
นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2563). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2563-65 อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี. ค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2564, จาก : https://www.krungsri.com/getmedia/b2a858e1-a2c8-41ca-bb52-203cfd50ffb0/IO_Chemical_Fertilizer_200129_TH_EX.pdf.aspx
พิกุล พงษ์กลาง. (2559). การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารต้นทุนการผลิตของการปลูกข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ เมล็ดพันธุ์ข้าว ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่, 8(3), 102 – 117.
มูลนิธิชัยพัฒนา. (2553). จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. ค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2564, จาก : https://www.chaipat.or.th/site_content/item/3579-2010-10-08-05-24-39.html
ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลำปาง. (2563). จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว. ค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2563, จาก : http://lpg-rsc.ricethailand.go.th/index.php/2013-06-12-07-18-47/21-2013-06-05-02-39-20.
ศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. (2560). แบบฟอร์มจัดทำศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร. ค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2564, จาก : https://www.fisheries.go.th/fpo-chiangrai/web2/wp-ontent/uploads/2017/02/5chiangkhong.pdf.
ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย. (2562). การผลิตและการตลาดข้าวจังหวัดเชียงราย. ค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2563, จาก : http://cri-crc.ricethailand.go.th/images/sampledata/rice-cri/ricedata_cri.pdf.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561). แจงข้อมูลเอกภาพข้าวนาปี ปี 60/61 ภาคเหนือ 17 จ. ผลผลิตรวม 7.2 ล้านตัน. ค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2563, จาก : https://www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร/29646/TH-TH.
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2563). BCG in Action : The New Sustainable Growth Engine. ค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564, จาก : https://www.nxpo.or.th/th/bcg-economy/
โสมรัศมิ์ จันทรัตน์, วิษณุ อรรถวานิช, ภูมิสิทธิ์ มหาสุวีระชัย, กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ และจิรัฐ เจนพึ่งพร. (2562). ภูมิทัศน์ภาคเกษตรไทย จะพลิกโฉมอย่างไรสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน?. ค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2563, จาก : https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_26Sep2019.
อัจฉรัตน์ สุวรรณภักดี และ สายใจ วิบูรณ์พันธ์. (2555). การใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าวและผลตอบแทนของเกษตรกรในศูนย์ข้าวชุมชน กรณีศึกษา : บ้านปาบ อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, ฉบับพิเศษ, 11 – 18.
Thailand Environment Institute, ม.ป.ป. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เกษตรเมืองกับการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. ค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2564, จาก : http://www.tei.or.th/ thaicityclimate/public/work-33.pdf